การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียนด้วยการเสริมสร้างโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ เลื่อนฤทธิ์ โรงเรียนพุทธจักรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารโรงเรียน, คุณภาพของนักเรียน, โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียนด้วยการเสริมสร้างโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียนด้วยการเสริมสร้างโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) และ 3) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียนด้วยการเสริมสร้างโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) ด้วยระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตจตุรวิทย์ สพม.กท 2 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นิสิตฝึกประสบการณ์ นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน รวมจำนวน 458 คน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModifie) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียนด้วยการเสริมสร้างโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) แบ่งเป็น 2 กรอบแนวคิด คือ (1) ด้านการเสริมสร้างโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และระบบกิจกรรมซึ่งมี 3 ส่วน คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังในห้องเรียน การสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงาน และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) (2) ด้านการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียนด้วยการเสริมสร้างโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) ประกอบด้วย วงจรการบริหารคุณภาพ PDCA (Deming Cycle) และการบริหารทรัพยากรการศึกษา (4Ms)
2) ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านระบบกิจกรรม (Activity) มีค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNIModifie = 0.82)
3) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ซึ่งผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง มีคะแนนเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ตั้งแต่ 4.40 ขึ้นไป

References

ซาโต มานาบุ. (2559). การปฏิรูปโรงเรียน แนวความคิด "ชุมชนแห่งการเรียนรู้" กับการนำทฤษฎีมาปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ: ปิโก (ไทยแลนด์).

นเรศ ปู่บุตรชา วัลนิกา ฉลากบาง วาโร เพ็งสวัสดิ์ และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2561). สมรรถนะครูกับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(2), 255-268.

ปองทิพย์ เทพอารีย์ และมารุต พัฒผล. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ สำหรับครูประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2), 284-296.

พงศกร อดุลพิทยาภรณ์ และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2562). แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วารสารการบริหาร และนวัตกรรมการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2(3), 17-32.

รวีวรรณ อรรถานิธี และมนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 106-117.

เศรษฐวัชร มัชปาโต มัณฑนา อินทุสมิต และสมาน นาวาสิทธิ์. (2557). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 68-76.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพของผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: บริษัทอินเตอร์-เทค พริ้นติ้ง จำกัด.

Balyer, A., Karatas, H., and Alci, B. (2015). School principals’ roles in establishing collaborative professional learning communities at schools. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 197(1), 1340-1347.

Carrie, P. (2016). Improving Student Well-being in Education: Incorporating Mindfulness into Elementary Classrooms. A research paper submitted in conformity with the requirements for the degree of Master of Teaching. Teaching and Learning University of Toronto.

Deming, W. E. (1986). Out of the crisis. Massachusetts: MIT center for advanced engineering study. Retrieved from https://www.scirp.org)/reference/ReferencesPapers.aspx?ReferenceID=1497894.

Dhian, A., I. and Irma, A. (2017). Improving the quality of school as a solutions of education problem. International Conference on Educational Research and Innovation (ICERI 2017), 1(1), 99-101.

Gagne, R. M. (1965). Psychology Issues in Science A Process Approach in Psychological Bases of Science A Process Approach. Washington D.C.: American.

Heinz, H. J. (1993). Basic Capacity Planning During a CPU Upgrade. In Int. CMG Conference.

Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of continuous inquiry and improvement. TX: Southwest Educational Development Laboratory.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30