การพัฒนาแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • วนัสนันท์ ใจมณี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิริเดช สุชีวะ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การต้านทุจริต, แบบวัดเชิงสถานการณ์, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการต้านทุจริตของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 720 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคม และแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา วิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือโดยการหาความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่า IOC  หาค่าอำนาจจำแนก (corrected item-total correlation) หาค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน (internal consistency) และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) ผลการวิจัยพบว่า

  1. แบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาพัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 31 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)การมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทุจริต 2) การมีจิตพอเพียง 3) การละอายต่อการทุจริต 4) การไม่ทนต่อการทุจริต มีค่าความตรงเชิงเนื้อหามีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกค่าตั้งแต่ 0.10 – 0.54 ค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในทั้งฉบับ เท่ากับ 0.80 ค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในรายด้าน ตั้งแต่ 0.45 ถึง 0.61 และผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าโมเดลวัดการต้านทุจริตของนักเรียนชั้นประถมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 35.27 df = 33 p = 0.36 GFI = 0.99 AGFI = 0.98 RMR = 0.01 RMSEA = 0.01)
  2. เกณฑ์การแปลความหมายของคะแนนที่ได้จากแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นเกณฑ์แบบทีปกติ (normalized T -score) โดยภาพรวมการต้านทุจริตทีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 5 – 29 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T21 – T61 เมื่อแบ่งรายองค์ประกอบ ด้านองค์ประกอบการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทุจริต นักเรียนมีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 0 – 12 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T21 – T72 ด้านองค์ประกอบการมีจิตพอเพียง มีคะแนนดิบ
    อยู่ระหว่าง 0 – 9 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T24 – T67 ด้านองค์ประกอบการละอายต่อการทุจริต มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 0 – 5 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T29 – T59 และด้านองค์ประกอบการละอายต่อการทุจริต มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 0 – 5 
    มีคะแนนทีปกติระหว่าง T30 – T65

References

กันติพิชญ์ ใจบุญ. (2560). "เยาวชนจะหยุดทุจริตชาติ" หวังระยะยาวของ ป.ป.ช.https://www.posttoday.com/politic/report/522961

เกรียงศักดิ์ โชควรกุล.(2561). กลยุทธ์การต่อต้านการทุจริตด้วยการสร้างค่านิยมของกลุ่มนักศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2), 248-264.

จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มคอร์รัปชั่นในประเทศไทย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทศวร มณีศรีขำ. (2559). การศึกษาความรู้และเจตคติของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อหลักสูตร “โตไปไม่โกง”. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1), 70-78.

บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2557). การสร้างจิตสำนึกของความเป็นไทย ค่านิยม เพื่อการต่อต้านป้องกันการทุจริต คอร์รัปชั่น. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(11), 248-264.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. นานมีบุ๊คส์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชมรมเด็ก

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CLASSICAL TEST THEORY) (พิมพ์ครั้งที่ 7). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และคณะ. (2564). โครงการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาประจำปี 2564. https://drive.google.com/file/d/19zzgPs8UO5T5lFTdV0n8r4nGhYV0-jdV/view

สมถวิล วิจิตรวรรณา. (2565) .แบบวัดเชิงสถานการณ์ : ประยุกต์ใช้วัดคุณลักษณะนิสัย. การวัด ประเมินผล สถิติ และ การวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(1), 11-19.

สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2564). เค้าโครงวิจัยประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต (An Evaluation Research on Thai Youth’s Acting for Honesty and Integrity) และประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริต 2 หลักสูตรและแนวทางเก็บข้อมูล. https://drive.google.com/file/d/1YUuxiNRRxJVGvujFxTK9dQ2ApzrrmW6e/view

สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2561). แผนการจัดการเรียนรู้ “รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2561). คู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา. สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2562). พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์การทุจริตและคอร์รัปชั่น.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตของเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2564. สํานักงานสถิติแห่งชาติ.

สุกัญญา จันทวาลย์. (2556). การพัฒนาแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมของนิสิตไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สุจริตไทย. (2562). หลักสูตรสุจริตไทย สำหรับนักเรียนและนักศึกษา.https://www.thaihonesty.org/

สุริยเดว ทรีปาตี. (2552). ต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทย. แผนงานสุขภาพเด็กและเยาวชน.

Dong, B. & Torgler, B. (2011). Corruption and Social Interaction: Evidence from China. Social Science Research Network.

Hair J.F., Black W.C., Babin B.J., Anderson R.E. & Tatham R.L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Pearson Prentice Hall: New Jersey.

Mccusker.R. (2006). Review of anti-corruption strategies. Australia: Australian Government.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05