การเปรียบเทียบความรู้และสภาพการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • ลลิญา แผนกระโทก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กมลวรรณ ตังธนกานนท์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประเมินเพื่อการเรียนรู้, ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความรู้และสภาพการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษและ 2) เปรียบเทียบความรู้และสภาพการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษจำแนกตามขนาดโรงเรียน ระดับวุฒิการศึกษา ระดับวิทยฐานะ และการผ่านการอบรมเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูผู้สอนในวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 288 คน จาก 72 โรงเรียน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบวัดความรู้และแบบตรวจสอบรายการปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ด้วยสถิติทีแบบกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูภาษาอังกฤษมีความรู้เกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง และครูมีสภาพการปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับน้อย 2) ครูมีความรู้เกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้แตกต่างกันตามระดับวุฒิการศึกษา ระดับวิทยฐานะ และการผ่านการอบรมเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ครูมีสภาพการปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

พรรณทิพา ศรีโชติ. (2556). ขับเคลื่อนประเทศไทย ก้าวสู่มิติใหม่การประเมินผลทางการศึกษา (Assessment). https://www.facebook.com/notes/puntipa-srichot

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์. อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย. อรุณการพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. รายงานทีดีีอาร์ไอ, 103(1), 3-20.

Angelo, T. & Cross, K. (1993). Classroom assessment techniques. San Francisco: Jossey-Bass.

Assessment Reform Group. (2002). Assessment for learning. http://www.qca.org.uk/qca4336.aspx

Assessment Report Group. (2016). 10 Principles of the assessment for learning. http://www.ehow.com/list_10-principles-assessment-learning.html

Assessment Resource Centre. (2016). Principles of Assessment for Learning. http://arc.bostes.nsw.edu.au/go/k-6/princles-of-assessment-for-learning/

Black, P., Harrison, C., Lee, C., Marshall, B., & Wiliam, D. (2003). Assessment for learning: Putting it into practice. Open University Press.

Black, P. J., & Wiliam, D. (1998). Assessment and classroom learning. Assessment in Education: Principles Policy and Practice, 5(1), 7-73.

Brookhart, S. M. (2015). Performance assessment: Showing what students know and can do. Learning Sciences International.

Chappuis, J. (2009). Seven strategies of assessment for learning. Pearson Education.

Issacs, T., Zara, C. and Herbert, G. with Coombs, S. and Smith, C. (2013). Key concept in educational assessment. SAGE.

Koehn, E., & Koehn, J. (2008). Peer assessment of team work And collaborative learning in construction/civil engineering paper. Annual Conference & Exposition, Pittsburgh, Pennsylvania. 10(1), 13.969.1 - 13.969.10.

Samuttai, Ruetinan (2019). Authentic Assessment of Learning Outcomes Based on Thai Qualification Framework for Higher Education (TQF) For the Bachelor's Degree in Education Program. https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss4/22

Tomlinson, C. A. (2014). The bridge between today’s lesson and tomorrow’s. Educational Leadership, 71(6), 10-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05