แนวทางการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครูโดยใช้การสัมภาษณ์ด้วย การกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • พิชญาภัค ประจวบกลาง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย
  • ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความตั้งใจประกอบอาชีพครู, นักศึกษาครู, การกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครูโดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีผลต่อความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครู โดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน และ
2) เพื่อสังเคราะห์แนวทางในการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูสำหรับนักศึกษาครู ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง คือครูในโรงเรียนรวมทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่แบบสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยการลงรหัสข้อมูล การสรุปตีความ เปรียบเทียบผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ปัญหาของครูแบ่งออกเป็น 7 ประเด็นหลัก 19 ประเด็นย่อย หรือ 67 ตัวบ่งชี้ ซึ่งปัญหาที่กระทบต่อความตั้งใจประกอบอาชีพครูมากที่สุด 3 อันดับแรก คือความไม่พร้อมของครอบครัว พัฒนาการนักเรียนล่าช้า/พื้นฐานความรู้และทักษะน้อย/เด็กพิเศษ การไม่ให้ความร่วมมือของครอบครัวและสังคม แนวทางส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูถูกพัฒนาเป็น 7 ประเด็นหลักคือ 1) วิธี/รูปแบบการสอน 2) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 3) เนื้อหาวิชาในหลักสูตร 4) การส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพครู ความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู 5) อาจารย์ 6) เสนอโอกาสในการประกอบอาชีพ 7) ระบบการคัดเลือกนักศึกษา โดยแบ่งเป็น 14 ประเด็นย่อย 51 ตัวบ่งชี้ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครูต่อไป     

References

ณัฐพล แจ้งอักษร. (2557). อิทธิพลของพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อพัฒนาการแรงจูงใจในการเป็น ครูของการสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานครู: การวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการแฝงเชิงสาเหตุที่มีตัวแปรเหลื่อมเวลาไขว้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2559). การผลิตครูเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้สู่อนาคตการศึกษาไทย. กระทรวงศึกษาธิการ. http://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/46009-8402.pdf

มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2564). ความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 145-157.

สุขุมาลย์ หนกหลัง. (2558). อิทธิพลส่งผ่านแบบปรับของการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเป็นครูที่มีต่อความ มุ่งมั่นตั้งใจในการเป็นครู. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สุภาพร เทียมบุญประเสริฐ, ทรงเกียรติ เถนว้อง, กาญจนา ตระกูลวรกุล. (2563). การศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 145-157.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. http://new.obec.go.th/wp-content/uploads/2018/09/obec61.pdf

Ikupa, M., Wilfried, A., Amanda, B., & Nadira, S. (2019). Student-teachers’ commitment to teaching and intentions to enter the teaching profession in Tanzania. South African journal of education, 39(1). https://doi.org/10.15700/saje.v39n1a1485

Selim E., Andreas J., Philipp H., Karl O., & Wilfried S. (2016). Tangible industry 4.0: A Scenario-based approach to learning for the future of production. Procedia CIRP, 54, 13-18. https://doi.org/10.1016/j.procir.2016.03.1 62

Tran L. H. N., & Huynh, N. T. (2019). Preservice teachers’ experiences with internship-related challenges in regional schools and their career intention: implications for teacher education programs. Journal of early childhood teacher education, 40(2), 159-176.

http://doi:10.1080/10901027.2018.1536902

UNESCO Bangkok. (2018, October). Teachers have their say: UNESCO Bangkok recognizes education’s transformational role, UNESCO Bangkok. https://bangkok.unesco.org/index.php/content/teachers-have-their-say-unesco-bangkok-recognizes-educations-transformationnal-role-region

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05