การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ ขัตติสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • จุไรรัตน์ อาจแก้ว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • อนุภูมิ คำยัง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การสร้างแบบวัด, ปัจจัยเชิงสาเหตุ, การคิดเชิงวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพบต่อการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ตัวอย่างในงานวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามพฤติกรรมการสอนของครู แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และแบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ดัชนีตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลและวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง 

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภูอยู่ในระดับ ปานกลาง
  2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีค่าดัชนีที่ใช้วัดความสอดคล้อง อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ประกอบด้วย X2= 82.910, df=65, p=0.066, GFI=0.971, AGFI=0.953, SRMR=0.032, RMSEA=0.026 และ CN=435.957 ตัวแปรที่นำมาศึกษาในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภูได้ร้อยละ 45.900
  3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของปัจจัยมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลตามลำดับ ดังนี้

                 3.1   ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ซึ่งมีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ 0.374 รองลงมาคือ ปัจจัยเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และพฤติกรรมการสอนของครูวิทยาศาสตร์โดยมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานเท่ากับ 0.297  และ 0.113 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                 3.2   ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ปัจจัยพฤติกรรมการสอนของครูวิทยาศาสตร์ซึ่งมีอิทธิพลทางอ้อมมากที่สุดมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ 0.398 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยส่งผ่านปัจจัยเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ รองลงมา คือปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ 0.101 โดยส่งผ่านปัจจัยเจตคติต่อวิทยาศาสตร์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติญา แสนประสิทธิ์. (2560). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย].

จุฑามาศ ทองเจียว และ ธัญญรัศม์ ชิดไธสง. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา].

นันธิดา รัตน์พิทักษ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิเคราะห์พหุระดับ [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

เบ็ญจพร ภิรมย์ และ สมศักดิ์ ลิลา. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1(1), 63-70.

พันทิพา เย็นญา และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(99), 28-40.

พีระพงษ์ จันทร์ยาง. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนกรณีศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 34(95), 47-58.

ภัทราพร เกษสังข์. (2558) รูปแบบเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 28(3), 341-363.

ภัทราวดี มากมี. (2563). การพัฒนาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102), 138-147.

วรภา บางสาลี, พรชัย ทองเจือ และ ปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล. (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านวังพรม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E). วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงคราม, 11(1), 105-119.

วิศนีย์ ศรีบัว, ภัทราพร เกษสังข์ และ พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์. (2561). โมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(27), 183-192.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สุมาลี จันทร์หัวโทน, วราพร เอราวรรณ์ และ พัฒนพงษ์ วันจันทึก. (2559). โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวัดผลการศึกษา, 22(1), 366-374.

Kuhn, D. (1993). Science as argument: Implications for teaching and learning scientific thinking. Science Education, 77, 319-337.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05