รูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ
คำสำคัญ:
การฝึกงานทางไกล, งานด้านเทคโนโลยีการศึกษา, ทักษะการรู้ดิจิทัล, การผลิตและพัฒนาสื่อบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ (2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูก่อนประจำการ หมายถึง นิสิต และนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่มีลักษณะรายวิชาเกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนาสื่อ จำนวน 9 คน ได้มาจากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็บไซต์ตามรูปแบบการฝึกงานทางไกลฯ แผนกำกับการฝึกงานที่สอดคล้องกับรูปแบบฯ แบบประเมินผลการฝึกงาน และแบบสังเกตพฤติกรรมการใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติการวิเคราห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ (One-way repeated measure ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์แบบประเมินผลการฝึกงานของกลุ่มตัวอย่างหลังการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ เฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.7, S.D. = 0.75) 2) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการประเมินพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการฝึกงานด้วยรูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ
ทั้ง 3 ครั้ง พบว่า นิสิต และนักศึกษา ที่ประเมินพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F = 420.770, Sig = .000)
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร.
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2546). การพัฒนามาตราฐานการปฎิบัติงานเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (ม.ป.ป.). ขอบข่ายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา. http://resourcesforeducationaltechnology.blogspot.com/
ณพัชร ศรีฤกษ์. (2558). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายในองค์กรเพื่อการพัฒนาคนเชิงรุก. วารสารการวัดผลการศึกษา, 32(91), 1-15.
ดนุชา สลีวงศ์, ประกอบเกียรติอิ่มศิริ และกานต์ทองทวี. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสื่อการสอน เรื่องการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(98), 134-149.
วราภรณ์ สินถาวร. (2545). การศึกษาจรรยาบรรณของนักเทคโนโลยีการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2557). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย (Vol. 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แววตา เตชาทวีวรรณ และคณะ. (2559). การประเมินการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 34(4), 1-28.
หยาดพิรุณ ศุภรากรสกุล. (2560). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2).
Bawden, D. (2008). “Origins and concepts of digital literacy.” In C. Lankshear and M. Knobel (Eds.), Digital literacies: Concepts, policies & practices. Peter Lang.
Casey, M. B. (1996). Understanding individual differences in spatial ability within females: A nature/nurture interactionist framework. Developmental Review, 16(3), 241-260.
Hart, T. (2017). Online ethnography. The International Encyclopedia of Communication Research Methods, 1-8.
Johnson, L., Becker, S. A., Estrada, V., & Freeman, A. (2015). NMC horizon report: 2015 museum edition. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED559371.pdf
Levin, J. (2016). Partnerships between the faith-based and medical sectors: implications for preventive medicine and public health. Preventive Medicine Reports, 4, 344-350.
Levin, J., & Waugh, M. (1998). Teaching teleapprenticeships: Electronic network-based educational frameworks for improving teacher education. Interactive Learning Environments, 6(1-2), 39-58.
Levin, J., Waugh, M., Brown, D., & Clift, R. (1994). Teaching teleapprenticeships: A new organizational framework for improving teacher education using electronic networks. Journal of Machine- Mediated Learning, 4(2), 149-161.
Levin, S., Levin, J., & Boehmer, R. (1994). Teaching teleapprenticeships in a freshman biology course. Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research Conference, Atlanta.
Norris, J. R. (2002). One-to-one teleapprenticeship as a means for nurses teaching and learning Parse’s theory of human becoming. Nursing Science Quarterly, 15(2), 143-149.
The Open University. (2018). Digital and Information Literacy Framework. http://www.open.ac.uk/libraryservices/pages/dilframework/