การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ขวัญเรือน จอมโคกสูง
  • กมลวรรณ ตังธนกานนท์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แบบตรวจสอบรายการ, สมรรถนะการประเมิน, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประชุมกลุ่ม
ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การประเมินแผนงาน/โครงการ 2) การประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 3) การประเมินบุคลากร 4) การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา 2. การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ประเด็นตรวจสอบหลัก 4 ประเด็น จำนวน 88 รายการตรวจสอบ มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 มีความเที่ยงทั้งฉบับในระดับ 0.94 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครมีระดับสมรรถนะการประเมินส่วนใหญ่ในระดับเชี่ยวชาญ การเปรียบเทียบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามเพศ อายุ ระดับวุฒิการศึกษา ระดับวิทยฐานะ และขนาดโรงเรียน พบว่า สมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ผลของการเปรียบเทียบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลพรรณ สูงสมสกุล. (2564). การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการประเมินอภิมานแบบตอบสนองสำหรับการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพโรงพยาบาลของผู้เยี่ยมสำรวจใหม่. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 108-119.

เนตรรัชนี กมลรัตนานันท์. (2558). การพัฒนาโมดูลการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินสำหรับอาจารย์พยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

บุญมี เณรยอด. (2546). ผลการดำเนินโครงการนำร่องระดับชาติ การบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน: วิถีและวิธีไทย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

บุญรัตน์ แผลงศร. (2565). เครื่องมือการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แบบสอบถามออนไลน์. วารสารการวัดผลการศึกษา, 39(105), 28-38.

พรภัทร จตุพร (2565). การพัฒนาแบบวัดและประเมินความต้องการจำเป็นด้านคุณลักษณะของครูนักคิดออกแบบ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 39(106), 75-89.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 1-7.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2563). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2564). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ร้านพจน์กล่องกระดาษ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา (2556). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. https://www.ksp.or.th/ksp2018/wp-content/uploads/2018/11/5.2.2ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา-เรื่อง-สาระความรู้-สรรถณะฯว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ-พ.ศ.2556.pdf.

Albers, A., Turki, T., & Lohmeyer, Q. (2012). Assessment of Design Competencies by A five Level Model of Expertise. https://www.designsociety.org/downloadpublication/33206/Assessment+of+Design+Competencies+by+a+Five+Level+Model+of+Expertise.

Derrick Meador. (2017). The Role of the Principal in Schools. https://www.academia.edu/35820393/The_Role_of_the_Principal_ in_Schools_by_Derrick_Meador_Updated.

Russo, D. (2016). Competency measurement model. European Conference on Quality in Official Statistics. https://www.ine.es/q2016/docs/q2016Final00276.pdf.

Scriven, M. (2000). The Logic and Methodology of Checklists. https://wmich.edu/evaluation/checklists.

Scriven, M. (2007). Key evaluation checklist. https://wmich.edu/sites/default/files/attachments/u350/2014/key%20evaluation%20checklist.pdf.

Stufflebeam, D. L. (2000). The checklist development checklist (CDC). http://www.wmich.edu/evalctr/ checklists/guidelines_cdc.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05