ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานที่มีผลต่อความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
การให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน, ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค, นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่งบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง และ 2) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานที่มีต่อความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษา ประชากร คือ นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง จำนวน 410 คน ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค คือ นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง จำนวน 410 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน คือ นักศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา และมีความสมัครใจในการเข้าร่วมทดลอง จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานที่มีต่อความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 สถิตติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเปรียบเทียบแบบนอนพาราเมตริกซ์ด้วยวิธีวิลคอกสัน ผลวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการควบคุม ด้านสาเหตุและการรับผิดชอบต่อปัญหา ด้านความอดทนต่อปัญหา และด้านผลกระทบต่อปัญหา และ 2) หลังการทดลองนักศึกษามีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จิตศุภางค์ จุฑาวิทยา. (2560). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ชมภูนุช ครองขจรสุข เพ็ญนภา กุลนภาดล และประชา อินัง. (2563). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101), 146-158.
ฐิติยา แย้มนิ่มนวล ระพินทร์ ฉายวิมลและเพ็ญนภา กุลนภาดล. (2555). ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพแผนกช่างอุตสาหกรรม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 20(1), 12-21.
เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เนาวรัตน์ ประภัสโรทัย. (2556). เชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้เรียนระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง].
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2554). แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา, & วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2557). เอกสารประกอบการสอน: การให้คำปรึกษากลุ่มเบื้องต้น. ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภรภัค วงศ์อรุณ และนฤมล พระใหญ่. (2564). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตวิชาชีพครู. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 245-257.
วัชรี ทรัพย์มี. (2554). ทฤษฎีให้บริการปรึกษา (6th ed.). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา นาควัชระ. (2544). วิธีเลี้ยงลูกให้เก่ง ดี มีสุข IQ EQ MQ AQ. GOODBOOK.
ศุภกานต์ บำรุงสุนทร เพ็ญนภา กุลนภาดล และประชา อินัง. (2563). การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวด้วยการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง. วารสารการวัดผลการศึกษา 37(101), 245-257.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์: ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาไทย.
Corey, G. (2012). Theory and Practice of Group Counseling (8th ed.). Thomson Brooks/Cole Inc.
Marquis, A. Hudson, D. and Tursi, M. (2010). Perceptions of Counseling integration: A survey of Counselor Educators. Counselor Preparation and Supervision, 2(1), 67-68.
Narcross and Newman. (1992). Integrative Psychotherapy Constructing Your Own Integrative. Approach to Therapy, 585-611.
Ohlsen, M. M. (1970). Group Counseling: Holt, Rinehart and Winston.
Phoolca, S., & Kour, N. (2012). Adversity Quotient: A new paradigm to Explore. International Journal of Contemporary Business Studies, 3(4), 67-68.
Seligman, M. E. P. (1990). Learned optimism. Mcgraw-Hill.
Squire, L. R., Knowlton, B., & Musen, G. (1993). The structure and organization of memory. Annual Review of Psychology, 44, 453-495.
Stoltz, P. G. (1997). Adversity Quotient: Turning Obstacles in to Opportunities. John Wiley & Sons.
Stoltz, P. G. (2000). Adversity quotient at work: Finding your hidden capacity for getting things done. Harper Collins Publishers.
Thorne, F. C. (1974). Introspective analysis of self-functioning. Journal of Clinical Psychology, 30(2).
Trotzer, J. P. (1999). The counselor and The Group: Integrating Theory, Training, and Practice (3rd ed.). Taylor& Francis.