การประเมินความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนาทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • สุนทร คำนวล สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กาญจนา ตระกูลวรกุล สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นวรินทร์ ตาก้อนทอง สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์, การระบุความต้องการจำเป็น, วิเคราะห์หาสาเหตุ, การกำหนดทางเลือกของการแก้ไขปัญหา, สะเต็มศึกษา, กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 3 ประการคือ (1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียน (2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ส่งผลต่อกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียน และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การระบุความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ และระยะที่ 3 การกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ผลการระบุความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 8 ทักษะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม จำนวน 24 ข้อ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้มาจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNImodifind พบว่าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนมีความต้องการจำเป็นมากที่สุดและควรได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน 3 อันดับ ได้แก่ (1) ทักษะการคำนวณ (2)ทักษะการสังเกต และ (3) ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ตามลำดับ (2) ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ พบว่านักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะพื้นฐาน ครูใช้สื่อในการฝึกทักษะที่ไม่หลากหลาย นักเรียน ขาดความสนใจในการเรียน ปัจจุบันนี้การนำเสนอข้อมูลมีรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจซึ่งนักเรียนยังขาดตัวอย่างการนำเสนอข้อมูล (3) ผลการกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา พบว่า ครูผลิตสื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายสามารถแสดงถึงจำนวนที่เป็นรูปธรรม นักเรียนสามารถจับต้องได้ ฝึกฝนทักษะพื้นฐานอย่างต่อเนื่องเน้นสื่อที่กระตุ้นความสนใจในการเรียนของนักเรียน ฝึกการทำงานเป็นทีม ฝึกฝนให้นักเรียนออกแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ และสามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่นักเรียนต้องการสื่อสารได้

References

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education (สะเต็มศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์การอบรมสะเต็มศึกษา. (2560). โครงการบูรณาการสะเต็มศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถานบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับหลักสูตรอนาคต ระดับประถมศึกษา. http://www.ipst.ac.th/files/curriculum2556/ManualScience-P.pdf

มนัญญา งามแสง. (2547). กลยุทธ์ทางเลือกในการพัฒนาทักษะการประเมินภายในสำหรับครูอนุบาล : การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์แบบ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ และพหุเทศะกรณีศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

นิภา ตรีแจ่มจันทร์. (2562). การพัฒนาทักษะกรพะบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

สุมาลี เซ็ม. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

ทิศนา เขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริมา ภู่สวัสดิ์. (2561). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือ [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

อัญชลี เหล่ารอด. (2554). ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้คำถามควบคู่กับการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-05