การประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยโดยใช้แนวคิดการประเมินกรณีที่ประสบความสำเร็จ
คำสำคัญ:
การประเมิน, โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย, แนวคิดการประเมินกรณีที่ประสบความสำเร็จบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลผลกระทบของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 2) ประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยตามโมเดลผลกระทบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยประยุกต์ใช้โมเดลตามแนวคิดการประเมินกรณีที่ประสบความสำเร็จ (Success Case Method) ของ Brinkerhoff (2003) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) 3) แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นโรงเรียนที่อยู่ในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 80 โรงเรียน (เก็บจากครูโรงเรียนละ 1 คน) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการที่ผู้วิจัยได้ทำการไปศึกษา ได้องค์ประกอบของโมเดลดังนี้ ผลผลิต ได้แก่ ครูสามารถจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ได้ดี, ครูสามารถส่งเสริมให้เกิดความสนใจทางวิทยาศาสตร์, ครูส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ ของตนเอง, ครูส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลลัพธ์ ได้แก่ นักเรียนมีความสนใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น, นักเรียนมีพัฒนาการทางการรับรู้ผ่านการทดลอง, นักเรียนรู้จักแก้ปัญหาและค้นหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ผลกระทบ ได้แก่ นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถนำไปต่อยอด 2) ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, SD = 0.53)
References
กรมวิชาการ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด : แนวทางสู่การปฏิบัติ. คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กุญชรี ค้าขาย. (2540). จิตวิทยาการเรียนการสอน. ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนวสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. เบรน-เบส บุ๊คส์.
ชุลีพร สงวนศรี. (2550). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาเด็กปฐมวัยกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ณัฐพรหม อินทุยศ. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตเพชรบูรณ์.
ประพา ชัยวงษ์. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจากการสอนที่เน้นใช้ผังกราฟฟิคประกอบ [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แพรวา วิหงส์. (2557). ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ภพ เลาหไพบูลย์. (2540). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไทยวัฒนาพานิช.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัย. แม็ค.
สมปรารถนา วงศ์บุญหนัก. (2557). ถอดบทเรียน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เครือข่ายมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สันติศิริการพิมพ์.
สมปรารถนา วงศ์บุญหนัก. (2559). กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เครือข่ายมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สันติศิริการพิมพ์.
สมศักดิ์ คำศรี. (2525). จิตวิทยาการศึกษา. ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว วิทยาลัยครูมหาสารคาม.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2533). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brinkerhoff R. O. (2003). The success case method: Find out quickly what’s working and what’s not. Berrett-Koehler.
Chan, L., Dongwon, J., Wooseok, K., and Jaeeun, L. (2017). Evaluating Training for New Government Officials. A Case Study Using the Success Case Method.
Coryn, C. L., Schröter, D. C., and Hanssen, C. E. (2009). Adding a time-series design element to the success case method to improve methodological rigor : An application for nonprofit program evaluation. American Journal of Evaluation, 30, 80-92.
Manuel , J. B. (2012). “SÍ SE PUEDE” Latino students can succeed in school : A success case method study. Public Personnel Management, 1-26.
Medina, L., Acosta-Pérez, E., Velez, C., Martínez, G., Rivera, M., Sardiñas, L., and Pattatucci, A. (2015). Training and capacity building evaluation: Maximizing resources and results with success case method. Evaluation and Program Planning, 52, 126-132.