การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
วิเคระห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, สมรรถนะการคิดเชิงคำนวณ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนรวมทั้งสิ้น 437 คน โดยผู้วิจัยใช้เกณฑ์การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 20 เท่า ต่อตัวแปรที่สังเกตได้ 1 ตัวแปร โดยในงานวิจัยมีตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด 21 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.40 - 0.86 และค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.95 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการแยกย่อย 2) ด้านการหารูปแบบ 3) ด้านการคิดเชิงนามธรรม 4) ด้านตรรกศาสตร์ 5) ด้านชิ้นงานสร้างสรรค์ ซึ่งพบว่าสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) พบว่า โมเดลสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วย ค่าสถิติไค-สแคว์ (Chi-Square) ( ) = 19.507, df = 11, p = 0.053, GFI = 0.996, AGFI = 0.911, RMSEA = 0.042 แสดงให้เห็นว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาอธิบายสมรรถนะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้
References
จารุกิตติ์ ชินนะราช. (2563). การพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
จิตตินันท์ บุญสถิรกุล. (2565). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ปี 2554 -2563. วารสารวัดผลการศึกษา, 39(105), 227-238.
ชาญวิทย์ ศรีอุดม. (2562). แนวคิดเชิงคำนวณ. http://charnwit.in.th/?p=1302#.XX8Q4dUzbIU.
ชฎารัตน์ พิพัฒนนันท์.(2563). CS Unplugged เรียน Coding โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์. https://cs.bru.ac.th/การคิดเชิงคำนวณ-cs-unplugged-เรียน-codin/
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2552). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 7). ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2547). การพัฒนาคลังข้อสอบวิชา 12702303 การวัดและประเมินผลทางการศึกษาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 17(2).
พันทิพา เย็นญา. (2562) . ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวัดผลการศึกษา, 36(99), 28-40.
พิชญานิน ศิริหล้า (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) และการทำงานเป็นทีม ในวิชาฉันทศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ].
ยุภารัตน์ พืชสิงห์. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].
รุ่งทิพย์ ศรสิงห์. (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 92-104.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิภาดา สุขเขียว. (2563). การพัฒนาแนวคิดเชิงคำนวณโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับ Edmodo และ Quizizz สำหรับบักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ].
วิรุฬห์ สิทธิเขตรกรณ์. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณด้วยกิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5Es ร่วมกับบอร์ดเกมและการเขียน Formula Coding เรื่อง ประชากร ในสถานการณ์โรคระบาด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(3), 286-300.
ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2564). การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง การคิดเชิงคำนวณในชีวิตประจำวัน. http://educa2020.educathai.com/learnings/25
ศิรินภา คุ้มจั่น. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะเชิงผลิตภาพสาระเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์].
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). จุฬาลงกรณ์.
สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งซาติ พ.ศ. 2542. บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อนุพร พวงมาลี. (2549). การเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามตามแนวคิดแบบหมวกหกใบ ของเอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน [Edward De Bono] กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี].
อภิญญา ไทยลาว. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพผ่านเว็บไซต์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณและชิ้นงานสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์].
อุบลรัตน์ หริณวรรณ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการคิดเชิงประมวลผล เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความรู้และทักษะทางปัญญาในการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษา. วารสารวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับออนไลน์). 1(2), 182-193. https://irj.kku.ac.th/images/journal/a915deb42379e8051958cedd300b79fe999.pdf
Bebras.org. (2020). Statistics. https://www.bebras.org/statistics.html.
Futschek, G. (2006). Algorithmic Thinking: The key for Understanding Computer Science. In LectureNotes in Computer Science 4226, Springer, pp. 159-168.
Hair, J. F. Jr. Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Prentice Hall.
Leonard Jacqueline et al. (2016). Using robotics and game design to enhance children’s self-efficacy, STEM attitudes, and computational thinking skills. Science educationtechnology. 25, 860-876.