รูปแบบการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
รูปแบบ, คุณภาพของนักเรียน, โรงเรียนประถมศึกษา, โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน และเพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครู จำนวน 400 คน และผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย อาจารย์หรือนักวิชาการ เป็นผู้บริหารสถานศึกษาหรือครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา หรือ ศึกษานิเทศก์ จำนวน 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน พบว่า รายด้านและในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คุณภาพของนักเรียน รายด้านและในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในการนี้ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายหรือร่วมอธิบายความแปรปรวนการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน มี 2 ปัจจัย โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ ได้ร้อยละ 59.40 (R2 = .594) ดังสมการในรูปคะแนนดิบ ต่อไปนี้ Y' = .900 + .596(X5) + .174(X1) และสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .632 (X5) + .209 (X4) 2) ผลการสร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ โครงสร้างและสาระสำคัญของรูปแบบ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต เงื่อนไขของรูปแบบ และ แนวการประเมินรูปแบบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
References
กฤตย์ ไชยวงศ์. (2561). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการวัดผลการศึกษา.35(98). 107-118.
กันตพัฒน์ มณฑา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสยาม, บัณฑิตวิทยาลัยศึกษาศาสตร์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
ธีรวัฒน์ เลื่อนฤทธิ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียนด้วยการเสริมสร้างโรงเรียน เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community, SLC). วารสารการวัดผลการศึกษา.39(105). 284-297.
นริศรา ตาปราบ และคณะ. (2562). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเอกชนจังหวัดชัยภูมิ.วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น.6(3). 548-565.
บุญรัตน์ แผลงศร. (2565). เครื่องมือการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แบบสอบถามออนไลน์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 39(105). 28-38.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2564). วิจัยการเรียนการสอน.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะศึกษาศาสตร์.
ประสิทธิ์ เรื่องแสงอร่าม และ อภิชาติ เลนะนนท์. (2560). คุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
ในโรงเรียนประชานุเคราะห์ สังกัดสำนกับริหารงานการศึกษาพิเศษ. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(1). 546-557.
พนิดา โชคพิพัฒน์ไพบูลย์ และธีระพงศ์ บุศรากูล. (2562). ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในอำเภอวิเศษชัยชาญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร.7(2). 233-246.
พัทธนนท์ หรรษาภิรมย์โชค และ จิราภรณ์ กาแก้ว. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชน.วารสาร
ศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์).6(12). 95-108.
ภัทราพร เกษสังข์ และ แพรวนภา เรียงริลา. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ จังหวัดเลย. วารสารการวัดผลการศึกษา.38(104). 25-38.
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2554).การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่สังคมแห่งคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้. การประชุมวิชาการการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
วรรณิศา แก้วดี และคณะ. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ทำงานระหว่างเรียน. Kasetsart Journal of Social Sciences. 38. 717 – 727.
วิไล หนูนาค และศิริชัย ชินะตังกูร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรมของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.9(2). 89-113.
วัชรินทร์ ยศรุ่งโรจน์ และณรงค์ศักดิ์จันทร์นวล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33. วารสารพิฆเนศวร์สาร.13(1). 97-115.
วันชัย พงสุพันธ์ และคณะ. (2553). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม.4(2). 113-125.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3. (2551).รายงานคุณภาพการจัดการศึกษาประจำปี 2551.มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562).มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2558). การพัฒนารูปแบบการวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York. Harper and Row Publications.