การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนโค้ดโดยใช้การเรียนรู้แบบจุลภาคสำหรับนักศึกษาครู

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ วิริยะสิทธารถ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบปรับเหมาะ, การเรียนรู้แบบจุลภาค, การเขียนโค้ด, บทเรียนออนไลน์ด้านการเขียนโค้ด

บทคัดย่อ

          วิจัยนี้เป็นวิจัยประเภทการทดลองแบบปรับเหมาะ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ (1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนโค้ดของนักศึกษาครูที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน (2) เพื่อออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์
ด้านการเขียนโค้ดโดยใช้การเรียนรู้แบบจุลภาค กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่
1-4 จำนวน 46 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบความสามารถด้านการเขียนโค้ดออนไลน์ และการทดลองนำร่องโดยใช้บทเรียนออนไลน์ด้านการเขียนโค้ดโดยใช้การเรียนรู้แบบจุลภาคบนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ Canvas lms โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยเป็นสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

  1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านการเขียนโค้ดเท่ากับ 5.05 คะแนนจาก 16 คะแนน
    คิดเป็นร้อยละ 31.59 กลุ่มที่เคยเรียนเขียนโค้ดได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.46 คะแนนสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เคยเรียนเขียนโค้ด
    ที่ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 คะแนน นิสิตสาขามัธยมศึกษา(วิทยาศาสตร์) ได้คะแนนสูงที่สุดเท่ากับ 9.50 คะแนน นิสิตสาขาธุรกิจศึกษาได้คะแนนน้อยที่สุดคือ 3.52 คะแนน
  2. จากการทดลองนำร่องพบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 44.00 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 62.50

References

ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2563). การพัฒนาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวัดผลการศึกษา.102.28 – 42.

สวรรยา ตาขำ, อนุภูมิ คำยัง, และจุฑามาส ศรีจำนงค์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารวัดผลการศึกษา.102.81 – 93.

รวิวรรณ เทนอิสสระ และคณะฯ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). อักษรเจริญทัศน์ อจท. กรุงเทพมหานคร.

Buchem, I., & Hamelmann, H. (2010). Microlearning: a strategy for ongoing professional development. eLearning Papers, 21(7), 1–15.

Gabrielli, S., Kimani, S., & Catarci, T. (2006, June 23–24). The design of microlearning experiences: A research agenda [Paper presentation]. Microlearning 2005 conference, Innsbruck, Austria.

Green, D. P., (2020, April 10). 10 things to know about adaptive experimental design. https://egap.org/methods-guides/10-things-adaptiveexperiments

Grover, S., Pea, R., & Cooper, S. (2016, February). Factors influencing computer science learning in middle school. In Proceedings of the 47th ACM technical symposium on computing science education, 552-557. https://doi.org/10.1145/2839509.2844564

Meerbaum-Salant, O., Armoni, M., & Ben-Ari, M. (2010). Learning computer scienceconcepts with scratch. Proceedings of the 6th international workshop on Computing education research, Denmark, 23(3), 69–76. https://doi.org/10.1080/08993408.2013.832022

Nguyen, H. D., Pham, V. T., Tran, D. A., & Le, T. T. (2019). Intelligent tutoring chatbot for solving mathematical problems in high-school. Proceedings of 11th International Conference on Knowledge and Systems Engineering (KSE), Vietnam,1-6. https://doi.org/10.1109/KSE.2019.8919396

Relkin, E., de Ruiter, L. E., & Bers, M. U. (2021). Learning to code and the acquisition of computational thinking by young children. Computers & education, 169. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2021.104222

Robins, A., Rountree, J., & Rountree, N. (2003). Learning and teaching programming: A review and discussion. Computer science education, (13)137-172. https://doi.org/10.1076/csed.13.2.137.14200

Skalka J., & Drlík, M. (2018). Conceptual framework of microlearning-based training mobile application for improving programming skills. In M. Auer, & T. Tsiatsos (Eds.), Advances in ntelligent systems and computing: Vol. 725. Interactive mobile communication technologies and learning (pp. 213–224). Springer. https://doi.org/10.1007/978-3-319-75175-7_22

Zyl, V. M., Wong, F., Guerrero, A. G., Duffy, M. (Eds.). (2020). Beginner’s step-by-step coding course. Dorling Kindersley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12