การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ ปรีชา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิริเดช สุชีวะ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การคิดเชิงระบบ, การพัฒนาแบบวัด, คณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ฯ และตอนที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) จากการเลือกแบบหลายชั้น (multi-stage random sampling) จึงทำให้ได้ตัวอย่างจำนวน 600 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ฯ โดยแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ฯ มีรูปแบบข้อคำถามแบบผสม ประกอบด้วยข้อคำถามแบบปรนัยหลายตัวเลือกจำนวน 8 ข้อและอัตนัยตอบสั้นจำนวน 10 ข้อ ประยุกต์ข้อคำถามจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด การหาอำนาจจำแนกของแบบวัดรายข้อโดยการพิจารณาการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test independent) การตรวจสอบความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม LISREL และตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha)

                 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการประเมินคุณภาพข้อคำถามของแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ข้อคำถามมีความเป็นไปได้เหมาะสมสามารถนำไปสร้างแบบวัด 2) การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อคำถามรายข้อของแบบวัดสามารถจำแนกความสามารถการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์ได้ ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากแบบทดสอบกับผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานมีความสัมพันธ์เชิงบวกขนาดต่ำ (rxy= .418) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงพบว่าโมเดลการวัดและแบบวัดการคิดเชิงระบบทางคณิตศาสตร์มีความสอดคล้องกัน (Chi-square=4.58, df=4, P=0.329, GIF=0.997, AGIF=0.987, RMSEA=0.016) และความเที่ยงอยู่ในระดับสูง ( gif.latex?\alpha = .818)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชยานันท์ โคสุวรรณ์, สุนทร คำนวล และธัญญรัศม์ ทองคำ. (2560). การพัฒนาเครื่องมือประเมินการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารการวัดผลการศึกษา. 34(96). 30-44

โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรภัทร สุดโต และอภันตรี นาคอำไพ. (2560). การวัดเจตคติ. วารสารการวัดผลการศึกษา. 34(96). 1-14

ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2562). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปารมี ศรีบุญทิพย์ และคณะ. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University 10(กันยายน-ธันวาคม 2560). 38-51.

มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2562). การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์: การสะท้อนคิดด้วยเทคนิคตะกร้า 3 ใบ. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 9(2). 203-222

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และสมยศ ชิดมงคล. (2560). การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์สอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. วารสารครุศาสตร์. 45(2). 209-224.

Alavi, M., Visemtin, D.C., and others. (2020). Chi-square for model fit in confirmatory factor analysis. Journal of Advanced Nursing. 76(9), Retrieved from ttps://www.researchgate.net/publication/340864596_Chi-square_for_model_fit_in_confirmatory_factor_analysis

Anderson, V., & Jonhson, L. (1997). Systems Thinking Basics: From Concepts to Causal Loops. Waltham: Pegasus Communications.

Assaraf, O. B.-Z, Orion, N. (2005). Development of systems thinking skills in the context of earth system education. Journal of Research in Science Teaching, 42(5), 518-560 Retrieved from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/tea.20061

Bounchanh Vongthongkham, Poliny Ung และปริญญา เรืองทิพย์. (2563). อิทธิพลของอัตมโนทัศน์ต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยมีแรงจูงใจฝาสัมฤทธิ์เป็นตัวแปรคั่นกลาง. วารสารการวัดผลการศึกษา. 37(102). 219-229

Depi Oktasari, Ismet and S M Siahaan. (2019). Validation construct: Confirmatory Factor Analysis (CFA) instrument scientific communication skill students in learning physics. Journal of Physics: Conference Series, 1567, Retrieved from https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1742-6596/1567/3/032095/pdf

Hair J.F., Hult G.T.M., Ringle C.M., Sarsted M., (2017) A primer on partial least squares structural equations modeling (PLS-SEM) (second edition), Los Angeles, SAGE.

Senge, Peter. (1993). The Fifth Discipline: The Art and Practice of Learning Organization. London: Century Business.

Waters Foundation. (2017). The Impact of the Systems Thinking in School in School Project: 20 years of Research, Development and Dissemination. Retrieved from: http://watersfoundation.org/wp-content/uploads/2017/ 07/STIS_Research.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12