การวิจัยปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสงาว
คำสำคัญ:
การวิจัยปฏิบัติการความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์, พื้นที่ผิวและปริมาตรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการส่งเสริม และ 3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนกับหลังการส่งเสริม กลุ่มเป้าหมายในงานวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสงาว จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร 2) แผนการจัดการเรียนรู้3) แบบวัดท้ายวงจร4) แบบสัมภาษณ์และ 5) แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวัดพัฒนาการสัมพัทธ์ และสถิติวิลคอกซันผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาของนักเรียน มีลักษณะท่องจำ คิดแบบเดิมตามที่ครูสอน ขาดจินตนาการในการสร้างองค์ความรู้ ไม่สามารถจินตนาการภาพตามสถานการณ์ได้ คิดได้ช้า ไม่สามารถนำความรู้ที่มีมาคิดต่อยอดเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้ และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60มีเพียงร้อยละ 13.33 ของนักเรียนทั้งหมด 2) คาดหวังให้นักเรียนสามารถหาวิธีการที่แปลกใหม่และหลากหลายในการคิดคำนวณพื้นที่ผิวและปริมาตร หาคำตอบได้รวดเร็ว นำความรู้ที่ได้มาสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีการคำนวณที่แม่นยำ และสามารถนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในสถานการณ์ใหม่หรือชีวิตประจำวันได้ และผลความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนต้องผ่านเกณฑ์คะแนนอยู่ในระดับร้อยละ60 ขึ้นไป จำนวนร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด แนวทางในการส่งเสริม ครูควรเชื่อมโยงความรู้เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรในชีวิตประจำวันเปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง และกระตุ้นให้ค้นคว้าหาวิธีการแปลกใหม่ในการค้นหาคำตอบหาสื่อหรือรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อไกลกังวลการใช้โปรแกรม GSP เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง การจัดการเรียนการสอนโครงงาน และวิธีการแบบเปิด3) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์อยู่ระหว่างร้อยละ 40-100 และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์หลังจัดกิจกรรมส่งเสริมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิตติศักดิ์ บุญทอง, สุพจน์ เกิดสุวรรณ และทองปาน บุญกุศล. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์กับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคทีมเกมการแข่งขัน. วารสารการวัดผลการศึกษา.37(102). 43-58
จิราภรณ์ ยกอินทร์. (2560). การจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ Active Learning.กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ชนิศวราเลิศอมรพงษ์. (2554). การใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธีรเชษฐ์เรืองสุขอนันต์. (2562). การศึกษาสภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางเรขาคณิตระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 9(2). 176-202.
นภสร บุญเสนา และสัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2563). การมีปัญหาของตนเองของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาและวิธีการแบบเปิด. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. หน้า HMP1-10. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปริศนาเชี่ยวสุทธิ, ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ และ แจ่มจันทร์ศรีอรุณรัศมี. (2563). การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา. 37(101). 159-170
พันทิพา เย็นญา และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา. 36(99). 28-40
ภัทราพร เกษสังข์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการ Action Research. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). คู่มือและแผนการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมชูปถัมภ์.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ของญี่ปุ่น. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โรงเรียนบ้านสงาว. (2562). รายงานผลการปฏิบัติงานตนเองของสถานศึกษา. เลย: โรงเรียนบ้านสงาว.
ลัดดา ศิลาน้อย และอังคณา ตุงคะสมิต. (2550). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach) ในวิชาประวัติศาสตร์สำหรับครูสำหรับนักศึกษาสาขาสังคมศึกษาหลักสูตร 5 ปี. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนก่น.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ.วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2(1). 29-49.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). จำนวนข้อสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำแนกตามรูปแบบข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การคิดเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562. จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
Barron, B., & Darling-Hammond, L. (2008). Teaching for meaningful learning: A review of Research on inquiry-based and cooperative learning (PDF).San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Kaldi, S.(2011). Project-based learning in primary schools: effects on pupils' learning and attitudes. International Journal of Primary, Elementary and Early Years Education, 39(1), 35-47.
Shimada, S. (ed.). (1977). Open-ended approach in arithmetic and 151 -52 mathematics: A new plan for improvement of lessons. Tokyo: Mizuumi Shobou. (in Japanese)
Vega, V.(2015).Project-Based Learning Research Review.Retrieved https://www.edutopia.org/pbl-Research-learning-outcomes
Vongthongkham, B., Ung, P., และปริญญา เรืองทิพย์ (2563).อิทธิพลของอัตมโนทัศน์ต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรคั่นกลาง.วารสารวัดผลการศึกษา. 37(102). 129-139.