การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียนวิทยาลัยทองสุขโดยใช้ทฤษฎีแอนดราโกจี

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา เทียกนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภัทรา วยาจุต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน, ทฤษฎีแอนดราโกจี, สัญญาการเรียนรู้

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียนวิทยาลัยทองสุข 2) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนตามทฤษฎีแอนดราโกจีสำหรับผู้เรียนวิทยาลัยทองสุขกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยทองสุข ชั้นปีที่ 1 ถึง ชั้นปีที่ 4 ทั้งหมดจำนวน 150คน และผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษานอกระบบที่จำนวน 3 คน และอาจารย์วิทยาลัยทองสุข จำนวน 2 คน เครื่องมือสำหรับการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อวัดระดับความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และแบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียน การวิเคราะห์ระดับความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียนวิทยาลัยทองสุข ใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและแนวทางการส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียนวิทยาลัยทองสุขโดยใช้ทฤษฎีแอนดราโกจี ใช้วิธีการเขียนบรรยายรายละเอียดเป็นรายประเด็น ผลวิจัยพบว่า 1) ในภาพรวมผู้เรียนวิทยาลัยทองสุขมีระดับความใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนตามทฤษฎีแอนดราโกจีสำหรับผู้เรียนวิทยาลัยทองสุข ได้แก่ผู้สอนควรสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นและมีความคิดริเริ่ม มีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สัญญาการเรียนรู้ และสื่อสังคมเป็นเครื่องมือ รวมถึงใช้กิจกรรมโครงงานเพื่อสร้างความท้าทาย ในการประเมินผลควรประเมินตามสภาพจริง และบทบาทที่สำคัญของผู้สอนจะต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผู้สร้างสรรค์บรรยากาศแห่งความสุข ผู้คอยกระตุ้น และเป็นผู้คอยแนะนำแนวทางการเรียนรู้ รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

References

กนกวรรณ ปัจจวงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม]. http://uc.thailis.or.th/bibitem?bibid=b02616029

กฤตย์ ไชยวงศ์. (2561). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35 (98). 107–118.

เขมกร อนุภาพ. (2560). การใช้การเรียนรู้แบบนำตนเอง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์].http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/160227.pdf

จันทรา เทพอวยพร. (23, มีนาคม, 2560). เรื่อง “ห้องสมุดดิจิทัลกับการก้าวสู่ยุค Thailand 4.0”.รายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 และประชุม วิชาการ. มหาวิทยาลัยมหิดล

ดาราวรรณ รองเมือง. (2562). บรรยากาศการเรียนรู้ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 6(1). 167-177.

ธมลวรรณ นวลใย และคณะ. (2562). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษ., 36(100). 160–173.

ธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์ และรัตติกาล สารกอง. (2562). การศึกษาคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้และใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประเสริฐ บัวจันอัฐ. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ของนักศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

พจมานพิเดช และบุญชม ศรีสะอาด. (2560). องค์ประกอบของความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(5). 69-84.

Knowles, M.S. (1980). The Modern Practice of Adult Education. New York:Cambridge The Adult Education Company.

Taro Yamane. (1973 ). Statistics an Introductory Analysis.3rdEd. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12