การพัฒนาแบบประเมินความพร้อมด้านทักษะทางสังคมของนักเรียน ระดับอนุบาลชั้นปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ณัฐณิชา วิชาภรณ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กนิษฐ์ ศรีเคลือบ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความพร้อม, ทักษะทางสังคม, รอยเชื่อมต่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ และพัฒนาแบบประเมินความพร้อมด้านทักษะทางสังคมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 51 คน โดยอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 31 คน และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 20 คน ด้วยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกเอกสาร และแบบบันทึกการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสังเคราะห์เอกสาร นำมาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสกัดให้ได้องค์ประกอบความพร้อมด้านทักษะทางสังคมของนักเรียน และพัฒนาแบบประเมินความพร้อมตามองค์ประกอบ จากนั้นตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความเที่ยง ใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

            ผลการวิจัยสรุปได้องค์ประกอบความพร้อมด้านทักษะทางสังคมของนักเรียน ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างมิตรภาพและการรักษาสัมพันธภาพ การจัดการอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง การรับรู้และเข้าใจมุมมองของผู้อื่น และการปฏิบัติตนเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม โดยออกแบบเครื่องมือเป็นรายการประเมินแบบเลือกตอบ (Checklist) ทั้งหมดจำนวน 31 รายการ มี 2 ตัวเลือก ได้แก่ ปฏิบัติได้และปฏิบัติไม่ได้ และผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.8 ด้านความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.617 มีความตรงเชิงโครงสร้าง ได้ค่าน้ำหนักองค์ประกอบเชิงยืนยันอยู่ระหว่าง 0.031 - 0.082

References

กมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ. (2560). บทบาทครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าครุสภา.

ธนิษฐา แจ่มอุทัย และคณะ. (2564). ทักษะทางสังคมและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการเล่านิทาน. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 38(104), 165-173.

ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์. (2560). การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน: รอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นจากชั้นอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์, 45(2), 152-169.

ประสงค์ พรหมเครือ, พัชรินทร์ เพลินทรัพย์. (2560). การสร้างเครื่องมือวัดเชาวน์อารมณ์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 34(96), 15-29.

พนิตกานต์ อรรถสุขวัฒนา, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร. (2018). การวิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล. OJDE, 13(2), 330-344.

Chan, W.L. (2010). The transition from kindergarten to primary school, as experienced by teachers, parents and children in Hong Kong. Early Child Development and Care, 180(7), 973-993.

Cook, K. D. & Coley, R. L. (2019). Coordination between head start and elementary schools to enhance children’s kindergarten success. Early education and development, 30:8, 1063-1083.

Cook, K. D. & Coley, R. L., Zimmermann, K. (2019). Who benefits? head start directors' views of coordination with elementary schools to support the transition to kindergarten. Children and youth services review. (2018).

Dockett, S., & Perry, B. (2003). The transition to school: What’s important? Educational Leadership, 60(7), 30–34.

Karen, E. D., Reagan., A. J., Bandyk, J. E. (2000). Parents' conceptions of kindergarten readiness: relationships with race, ethnicity, and development. The Journal of Educational Research. 94:2, 93-100. DOI: 10.1080/00220670009598747

Karen, M. Aleksandra, H., Heather, Q., Burhan, O., Iliana, B. R., Jennifer, A., Jodi, J. C., Alison, H., Alejandra, M., Shannon, K., Emily, V., Elena, R., Emily, A. (2017). The impact of transitional kindergarten on california students. American institute for research. (2017).

Mann T. D., Hund M. A., Hesson-McInnis M. S., Roman Z. J. (2016). Pathways to school readiness: executive functioning predicts academic and social–emotional aspects of school readiness. Mind, Brain, and Education, 11(1), 21-31.

Morgan, P. L., Farkas, G., Wang, Y., Hillemeier. M., Oh, Y., Maczuga, S. (2018). Executive function deficits in kindergarten predict repeated academic difficulties across elementary school. Early childhood research quarterly, (2018). Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.ecresq.2018.06.009

Paolini A. (2019). Social emotional learning: role of the school counselor in promoting college and career readiness. Anatolian Journal of Education, 4(1), 1-12.

Webster-Stratton C., Reid J. M. (2004). Strengthening social and emotional competence in young children—the foundation for early school readiness and success incredible years classroom social skills and problem-solving curriculum. Infants and Young Children, 17(2), 96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30