การเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นด้วยการปรึกษาครอบครัว เชิงบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • สุวัชราพร สวยอารมณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประชา อินัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การปรึกษาครอบครัว, พฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น และ 2) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จำนวน 16 ครอบครัว ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทำการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 ครอบครัว  โดยมีเกณฑ์การคัดเข้ากลุ่มตัวอย่างดังนี้ เป็นพ่อแม่ที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง และมีคะแนนพฤติกรรมพ่อแม่ตั้งแต่ระดับน้อยลงมา ( < 4.07) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.896 และโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 

  1. โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ของทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวพฤติกรรมนิยม
  2. ผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาครอบครัว เชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น และ 2) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จำนวน 16 ครอบครัว ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทำการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 ครอบครัว  โดยมีเกณฑ์การคัดเข้ากลุ่มตัวอย่างดังนี้ เป็นพ่อแม่ที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง และมีคะแนนพฤติกรรมพ่อแม่ตั้งแต่ระดับน้อยลงมา ( < 4.07) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.896 และโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 

    1. โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ของทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวพฤติกรรมนิยม
    2. ผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาครอบครัว เชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนประจําปี 2560. https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/file_download/1646492228199-993076668.pdf

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2560). การให้การปรึกษาครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ประยูรสาสน์ไทย.

ธีระพงษ์ จันทร์ยาง. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลพฤติกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนกรณีศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 34(95), 47-58.

รุ่งฤดี วงค์ชุม. (2562). ความสัมพันธ์ระหวางสัมพันธภาพในครอบครัวและความผูกพันระหว่างบิดามารดากับบุตรกับพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 8-18.

อัสรี อนุตธโต, พาสนา จุลรัตน์ และนฤมล พระใหญ่. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการข่มเหงรังแกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 158-170.

Aunola K., Nurmi J.E. (2005) The role of parenting styles in children's problem behavior. Child Dev, 76, 1144–1159. https://doi.org/10.1111/j.1467-8624.2005. 00840.x-i1

Corey, G. (2014). Theory and practice of group counseling (9th ed.). Cengage Learning Custom Publishing.

Domitrovich C.E., Bierman K.L. (2001). Parenting practices and child social adjustment: Multiple pathways of influence. Merrill Palmer Quarterly, 47, 235–263.

Essau C.A., Sasagawa S., & Frick P.J. (2006). Callous-unemotional traits in a community sample of adolescents. Assessment, 13, 454–469. https://doi.org/10.1177/1073191106287354

Goldenberg, H., & Goldenberg, I. (2008). Family Therapy an Overview. (7th ed.). Books/Cole Public.

Hoeve M, Blokland A, Dubas J, Loeber R, Gerris J, et al. (2008) Trajectories of delinquency and parenting styles. J Abnorm Child Psychol, 3, 223–235.

Johnston, C. & Jassy, J.S. (2007). Attention-deficit/hyperactivity disorder and opositional/conduct problems: links to parent–child interactions. J. Can: Academy Child Adolescent Psychiatry, 16, 74–79.

Norcross, J. C. (2005). The Psychotherapist's Own Psychotherapy: Educating and Developing Psychologists. American Psychologist, 60(8), 840-850.

Norcross, J., & Beutler, L. (2008). Integrative psychotherapies. In R. Corsini & D. Wedding (Eds.), Current psychotherapies (8th ed., pp. 481-511). Brooks/Cole.

Reid, C.A., Roberts, L.D., Roberts, C.M., & Piek, J.P. (2015). Towards a model of contemporary parenting: the parenting behaviours and dimensions questionnaire. PloS one, 10(6), e0114179. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0114179

Roksa J., Potter D. (2011). Parenting and academic achievement. Sociol Educ, 84, 299-321.

Stormshak E.A., Bierman K.L., McMahon R.J., Lengua L.J. (2000). Parenting practices and child disruptive behavior problems in early elementary school. J Clin Child Psychol, 29, 17-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30