การสร้างแบบวัดคุณลักษณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • นวรินทร์ ตาก้อนทอง สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของนิสิต, แบบวัดเชิงสถานการณ์, การสร้างแบบวัด

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวนทั้งสิ้น 365 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบคุณลักษณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ ฉบับละ 30 ข้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ 1 ฉบับ และแบบตรวจสอบรายการ 1 ฉบับ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

  1. แบบวัดเชิงสถานการณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.667 ถึง 1.000 มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.289 ถึง 0.659 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.213 ถึง 0.688 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.880 โดยที่แบบวัดเชิงสถานการณ์ ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ด้านความอยากรู้อยากเห็น ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านความพยายามในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้านความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อม ด้านความเป็นผู้นำ และด้านความตระหนักถึงสังคมและวัฒนธรรม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.142, 0.213, 0.211, 0.172, 0.180 และ 0.228 ตามลำดับ
  2. แบบตรวจสอบรายการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.667 ถึง 1.000 มีค่าความเชื่อมั่น (Alpha-Coefficient) ทั้ง 6 ด้าน เท่ากับ 0.882, 0.757, 0.825, 0.691, 0.598 และ 0.791 ตามลำดับ

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). วผ 401 การวัดประเมินการเรียนรู้ (เอกสารประกอบการเรียน). คณะศึกษาศาสตร์ มหาลัยวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2564). คู่มือการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ฉบับร่าง). http://council.swu.ac.th/Portals/2099/draft_Auditmanaul_64.pdf?ver=2020-09-09-111636-847

ล้วน สายยศ และ อังคนา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. สุวีริยาสาส์น.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. เจริญดี มั่นคงการพิมพ์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

DeVellis, R. F. (2012). Scale development: Theory and applications (3rd ed.). SAGE.

Hair, Jr. J. (2019). Multivariate data analysis (8th ed.). Andover: Cengage.

Johnson, B., & Christensen, L. (2012). Educational research quantitative, qualitative, and mixed Approaches (4th ed.). SAGE.

Murphy, K. R., & Davidshofer, C. O. (2004). Psychological testing: Principles and applications (6th ed.). Pearson.

World Economic Forum [WEF]. (2016). New vision for education: Fostering social and emotional learning through technology. http://www3.weforum.org/docs/WEF_New_Vision_for_Education.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30