ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ธัญญลักษณ์ สวัสดี วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ชุติมา วัฒนะคีรี วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน, ความสามารถในการสร้างแบบจำลอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน  2) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) และใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์  4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า (t-test)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จงกล บุญรอด. (2557). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ชาตรี ฝ่ายคำตา และภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน Model-Based Learning. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 29(3), 86-99.

โชติภรณ์ ลีเวียง และไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.

http://gnru2017.psru.ac.th/proceeding/246- 25600830112257.pdf

ณัฐมน สุชัยรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0 มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/news/345042.

ธมลวรรณ นวลใย. (2562). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(100), 160-173.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2540). วิธีการสอนแบบ Constructivism. (ถ่ายเอกสารประกอบการประชุม). ตึกอำนวยการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

โพธิศักดิ์ โพธิเสน. (2558). การพัฒนาแบบจำลองทางความคิดของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ที่ใช้แบบจำลองเป็นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

รัตนาภรณ์ ศุภพร, สุรเดช อนันตสวัสดิ์, และวิทัศน์ ฝักเจริญผล. (2562) การแปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอวัยวะในร่างกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 3(2), 62-71.

วิภาดา กาลถาง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวัดผลการศึกษา, 35(97), 80-90

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). คู่มือการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ศูนย์สอบ. https://www.niets.or.th/th/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). พริกหวานกราฟฟิค.

สิทธิโชค เอี่ยมบุญ. (2563). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

สิทธิศักดิ์ พสุมาตร์. (2558). การใช้การเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบายเพื่อแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต].

เอกภูมิ จันทรขันตี. (2559). “การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการโต้แย้งในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์”. วารสารมหาวิทยาลัยราชฏยะลา, 11(1), 217-32.

Beak, H., Schwarz, C., Chen, J., Hokayem, H. and Zhan, L. (2011). Engaging elementary students in scientific modeling: The MoDeLS 5th grade approach and findings (pp. 195-220). In M. Khine and I. Saleh (Eds.), Dynamic modeling: Cognitive tool for scientific enquiry. Springer.

Coll, K. R., & Lajium, D. (2011). Modeling and the Future of Science Learning. In S. M. Khine & M. l. Saleh (Eds.), Models and Modeling: Cognitive Tools for Scientific Enquiry: Springer Science.

Gobert and Buckley. (2002). Introduction to Model-based teaching and learning in Science Education. International Journal of Science Education, 22(9), 891-894.

Windschitl, M. & Thompson,J. (2006). Transcending simple forms of school science investigation: the impact of preservice instruction on teachers’understandings of model-based inquiry. American Educational Research Journal, 43(4), 783-835.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30