การศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • คณากร นาคอาจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สรัญญา จันทร์ชูสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเชิงนวัตกรรม, อาชีวศึกษา, วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยดำเนินการวิจัย 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาและกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้เชิงนวัตกรรมของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลยืนยัน ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และขั้นที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 จากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในภาคกลาง จำนวน 660 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ข้อมูลที่ได้นำมาตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ผลการวิจัยพบว่า

  1. พฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การสำรวจความคิด การสร้างแนวคิดใหม่ การส่งเสริมความคิดให้เป็นที่ยอมรับ และการทำความคิดให้เกิดผล รวมทั้งหมด 13 ตัวบ่งชี้
  2. โมเดลพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่า gif.latex?x^{2} =70.394, df=53, P-value=.0552, RMSEA=0.022, SRMR=0.0133, CFI=0.998, GFI=0.984, AGFI=0.972

 

References

กรมการจัดหางาน. (2560). ยุทธศาสตร์การแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนแรงงาน พ.ศ. 2560-2564. https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/498391d8154f6237d5db6b423d5f1b85.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/056/T_0009.pdf

เกรเกอร์เซน ฮาล และคริสเตนเซน เคลย์ตัน. (2558). นวัตกรพลิกโลก [The Innovator’s DNA] (พิมพ์ครั้งที่ 1) (นรา สุภัคโรจน์). ปราณ.

ขวัญธิดา พิมพการ, กฤษดา ทองทับ และวรรณา จำปาทิพย์. (2564). การศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก. วารสารวัดผลการศึกษา, 38(103), 171-183.

พรทิพย์ ไชยฤกษ์ และ ขวัญกมล ดอนขวา. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรและพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน). วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 8(2), 61-69.

พรรณพิลาศ เกิดวิชัย. (2559). การพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ออนไลน์ตามแนวคิดหุ้นส่วนภาคเอกชนที่เสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของครูปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

เพลินจิต กิตติยงวิวัฒน์. (2563). การสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี].

ภัทราวดี มากมี. (2563). การพัฒนาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวัดผลการศึกษา, 37(102), 138-147.

ยศวดี สิทธิเดช. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มเอียงทางบวกและความไว้วางใจในองค์การกับความผาสุกและพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม : บทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของความผูกพันต่องาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา. (2562). สถิติข้อมูลนักเรียนนักศึกษา. https://techno.vec.go.th/B52562.aspx

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2565). การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม. http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2015/05/STEM-Education2.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.

อนุภูมิ คำยัง. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยทางการศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวัดผลการศึกษา, 38(104), 132-143.

De Jong, J., & Den Hartog, D. (2010). Measuring innovative work behavior. Creativity and Innovation Management, 19(1), 23-36.

Dorenbosch, L. (2005). On-the-job Innovation: The Impact of Job Design and Human Resource Management through Production Ownership. Creativity and Innovation Management, 14(2), 129-141.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River. Prentice Hall.

Janssen, O. (2003). Innovative Behavior and Job Involvement at the Price of Conflict and Less Satisfactory Relations with Co-Workers. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 76, 347-364.

Kanter, R. (1988), When a thousand flowers bloom: Structural, collective, and social conditions for innovation in organizations. Research in organizational behavior, 10, 169-211.

Kleysen, R.F., & Street, C. T. (2001). Toward a multi-dimensional measure of individual Innovative behavior. Journal of Intellectual Capital, 2(3), 284-296.

Krause, Diana E. (2004). Influence-based Leadership as a Determinant of the Inclination to Innovate and of Innovation-related Behaviors: An Empirical Investigation. The Leadership Quarterly, 15(1), 79-102.

Scott. S. G. & Bruce. R. A. (1994). Determinants of Innovation Behavior: A Part Model of Individual Innovation in The Workplace. Academy of Management Journal, 37(3), 580-607.

West, M. A.,and Farr, J. L. (1989). Innovation at work: Psychological Perspective. Social Behavior, 4, 15-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30