ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มแฝงความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู: การวิเคราะห์กลุ่มแฝงแบบมีเงื่อนไข

ผู้แต่ง

  • โยธณัฐ บุญโญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ชั้นเรียนนวัตกรรม, การสอนเชิงนวัตกรรม, พฤติกรรมเชิงนวัตกรรม, สภาพแวดล้อมเชิงนวัตกรรม, การวิเคราะห์กลุ่มแฝง

บทคัดย่อ

          ชั้นเรียนนวัตกรรมเป็นชั้นเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน โดยเน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้เชิงบวกและการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มตามศักยภาพ ซึ่งการวิเคราะห์จัดกลุ่มครูจะเป็นฐานสารสนเทศในการส่งเสริมความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมได้ตรงตามศักยภาพของครู การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) วิเคราะห์กลุ่มแฝงความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู 2) วิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อกลุ่มแฝงความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู ตัวอย่างวิจัย คือ ครูที่สอนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 386 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม
ความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงเรียนและชั้นเรียน มีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และการวิเคราะห์กลุ่มแฝงแบบมีเงื่อนไข ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครูสามารถจำแนกครูออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ครูล้าหลังทางนวัตกรรม ซึ่งเป็นครูที่มีองค์ประกอบความเป็น
ชั้นเรียนนวัตกรรมต่ำทุกองค์ประกอบ จำนวน 77 คน (ร้อยละ 19.95) ครูเริ่มต้นความเป็นนวัตกร ซึ่งเป็นครูที่มีองค์ประกอบความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมปานกลางทุกองค์ประกอบ จำนวน 151 คน (ร้อยละ 39.20) และครูพัฒนานวัตกร ซึ่งเป็น
ครูที่มีองค์ประกอบความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมสูงทุกองค์ประกอบ จำนวน 158 คน (ร้อยละ 40.93) และโมเดลมีค่า Entropy = .93 LL = -6795.70 BLRT = 715.83 และ LMRA = 708.942  2) จากการวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อ
กลุ่มแฝงความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อกลุ่มแฝงความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู
คือสภาพแวดล้อมเชิงนวัตกรรมโดยโอกาสที่ครูจะอยู่ในกลุ่มแฝงครูเริ่มต้นความเป็นนวัตกรจะเพิ่มขึ้น 6.106 เท่าของ
กลุ่มแฝงครูล้าหลังทางนวัตกรรม เมื่อครูมีคะแนนสภาพแวดล้อมเชิงนวัตกรรมเพิ่มขึ้น 1 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 (OR = 6.106, p = .046)

References

ฉัตรชัย หวังมีจงมี & องอาจนัยพัฒน์. (2554). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ. Journal of HR intelligence, 12(2), 47-63.

นภัทร ธัญญวณิชกุล, ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล, & ทิวัตถ์ มณี โชติ. (2022). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 233-244.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2020, Jan 2). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2564. กลุ่มสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. https://moe360.blog/2020/01/02

พิณสุดา สิริธรังศร. (2557). ข้อเสนอการยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษ ที่ 21. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 1(2), 2-14.

ภมรศรี แดงชัย. (2013, Jan 16). กะเทาะอุปสรรคครูไทย. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. http://www.qlf.or.th/Home/Contents/571

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รายงานผลการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2562.

http://www.reo2.moe.go.th/home/index.php/login/2018-10-17-08-14-28/613-2562-3

อนุภูมิ คำยัง. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยทางการศึกษาโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารการวัดผล การศึกษา, 38(104), 132-143.

Bibi, S., Khan, A., Qian, H., Garavelli, A. C., Natalicchio, A., & Capolupo, P. (2020). Innovative climate, a determinant of competitiveness and business performance in Chinese law firms: the role of firm size and age. Sustainability, 12(12), 4948. https://doi.org/10.3390/su12124948

de Jesus, S. N., Rus, C. L., Lens, W., & Imaginário, S. (2013). Intrinsic motivation and creativity related to product: A meta-analysis of the studies published between 1990–2010. Creativity Research Journal, 25(1), 80-84. https://doi.org/10.1080/10400419.2013.752235

Dziak, J. J., Lanza, S. T., & Tan, X. (2014). Effect size, statistical power, and sample size requirements for the bootstrap likelihood ratio test in latent class analysis. Structural equation modeling: a multidisciplinary journal, 21(4), 534-552. https://doi.org/10.1080/10705511.2014.919819

Eshun, E. F. (2012). Developing innovative assessment strategy to foster creativity development in graphic design studio [Doctoral dissertation].

Hill, M. (2019, Jan 25). 5 Features of an Innovative Classroom. INSPIRED IDEAS. https://medium.com/inspired-ideas-prek-12/5-features-of-an-innovative-classroom-11fe51e4753

Laal, M., & Ghodsi, S. M. (2012). Benefits of collaborative learning. Procedia-social and behavioral sciences, 31, 486-490. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2011.12.091

Lanza, S. T., Bray, B. C., & Collins, L. M. (2013). An introduction to latent class and latent transition analysis. Handbook of psychology, 2, 691-716.

Lynch M. (2018, Apr 3). 10 CHARACTERISTICS OF AN INNOVATIVE CLASSROOM. THE TECH EDVOATE. https://www.thetechedvocate.org/10-characteristics-innovative-classroom

Magen-Nagar, N., & Steinberger, P. (2017). Characteristics of an innovative learning environment according to students’ perceptions: actual versus preferred. Learning Environments Research, 20(3), 307-323. https://doi.org/10.1007/s10984-017-9232-2

Muthén, B., & Muthén, B. O. (2009). Statistical analysis with latent variables (Vol. 123, No. 6). Wiley.

Oberski, D. (2016). Mixture models: Latent profile and latent class analysis. In Modern statistical methods for HCI (pp. 275-287). Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-319-26633-6_12

Okolie, U. C., Oluka, B. N., Oluwayemisi, F. B., Achilike, B. A., & Marcel Ezemoyih, C. (2022). Overcoming obstacles to collaborative learning practices: a study of student learning in higher education-based vocational education and training. International Journal of Training Research, 20(1), 73-91. https://doi.org/10.1080/14480220.2021.1965904

Peña-López, I. (2015). Schooling Redesigned. Towards Innovative Learning Systems.

Salma, N. (2020). Collaborative learning: An effective approach to promote language development. International Journal of Social Sciences & Educational Studies, 7(2), 57-61.

Tan, C. S., Lau, X. S., Kung, Y. T., & Kailsan, R. A. L. (2019). Openness to experience enhances creativity: The mediating role of intrinsic motivation and the creative process engagement. The Journal of Creative Behavior, 53(1), 109-119. https://doi.org/10.1002/jocb.170

Von Stamm, B. (2008). Managing innovation, design and creativity. John Wiley & Sons.

Zare, M., & Flinchbaugh, C. (2019). Voice, creativity, and big five personality traits: A meta-analysis. Human Performance, 32(1), 30-51. https://doi.org/10.1080/08959285.2018.155078

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30