การเสริมสร้างชุดความคิดในการดำเนินชีวิตของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศด้วยการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา

ผู้แต่ง

  • อภิสรา พงษ์ชมพร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลภาดา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูพา
  • ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูพา

คำสำคัญ:

การปรึกษาออนไลน์, ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา, ชุดความคิด

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนชุดความคิดในการดำเนินชีวิตของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศด้วยการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาในกลุ่มทดลองระหว่างระยะก่อนทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนชุดความคิดในการดำเนินชีวิตของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศด้วยการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดชุดความคิดในการดำเนินชีวิตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 23 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และ 2) โปรแกรมการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนสัญชาติไทยที่ศึกษาในต่างประเทศอายุตั้งแต่ 15-20 ปี ได้ไปศึกษาในต่างประเทศ มีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมโครงการวิจัย และมีคะแนนชุดความคิดในการดำเนินชีวิตจากการประเมินด้วยแบบวัดชุดความคิดในการดำเนินชีวิตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอยู่ในระดับต่ำ (คะแนน 0-27) จำนวน 20 คน ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 10 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองจะได้รับการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที และกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า คะแนนชุดความคิดในการดำเนินชีวิตของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศที่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญามีคะแนนชุดความคิดในการดำเนินชีวิตสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาสามารถเสริมสร้างชุดความคิดในการดำเนินชีวิตของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ชัชวาล ศิลปกิจ. (2558). ความตรงของแบบวัดชุดความคิด. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 23(3), 166-174.

ชุติกาญจน์ อินทร์ทิม. (2564). ผลการบูรณาการการปรึกษาทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับศิลปะเพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ต้องขังหญิง. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 185-196.

พัชรภรณ์ สุนทรวิบูลย์. (2561). แนวคิดการสร้างแบบวัดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล The Concept of Creating Measurement Form with Digital Technology. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(97), 10-21.

พิศุทธ์ปภาณ จินะวงค์. (2564). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 1-12.

วัลลภา กิตติมาสกุล. (2563). ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่ออาการซึมเศร้าของวัยรุ่นที่ถูกทารุนกรรม. วารสารพยาบาลทหารบก Journal of The Royal Thai Army Nurses, 21(1), 329-337.

Beck JS. and Beck AT. (2011). Cognitive therapy: Basics and beyond. Guilford.

Carol Dweck. (2008). Mindset: The new psychology of success: Random House Digital, Inc.

Carol Dweck. (2018). Mindset Updated Edition: Changing The Way You think To Fulfil Your Potential Paperback. Welearn.

Graziella et al. (2020). Psychological intervention measures during the COVID-19pandemic. Clinical Neuropsychiatry, 17(2), 76.

Howell, D. (2007). Statistical methods for psychology Thomson Wadsworth. Belmont, CA, 2007, 1-739.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30