ผลการจัดการเรียนรู้ดนตรีเบื้องต้นของนักเรียนวงโยธวาทิต ตามแนวคิดแฮร์โรว์

ผู้แต่ง

  • นฤดล จันทรเพ็ชร์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ทองปาน บุญกุศล วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, ทักษะปฏิบัติดนตรีเบื้องต้น, ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์, การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติดนตรีเบื้องต้น ของนักเรียนวงโยธวาทิต โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนวงโยธวาทิต ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนวงโยธวาทิต ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ และเครื่องเป่าทองเหลือง โรงเรียนในเครือสารสาสน์เขตการปกครองที่ 10 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Warm – ups 6 เรื่อง  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Performance 4 เรื่อง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับการปฏิบัติดนตรีเบื้องต้น 2 เรื่อง และแผนการจัดการเรียนรู้ดนตรีเบื้องต้น ของนักเรียนวงโยธวาทิต ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ของวงโยธวาทิต โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครปฐม 12 แผน โดยได้ดำเนินการศึกษาทดลองตามแผนวิจัยขั้นพื้นฐาน (Pre-Experimental Research) แบบหนึ่งกลุ่ม ทำการประเมินทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (One Group Pretest – Posttest Design) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติดนตรีเบื้องต้นของนักเรียนวงโยธวาทิตโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ เนื่องจากตัวอย่างมีขนาดเล็ก(n=10) เพื่อให้การทดสอบสมมติฐานมีความน่าเชื่อถือผู้วิจัยจึงใช้สถิตินอนพาราเมตริก (nonparametric statistics) มาใช้ในการทดสอบ สถิติพาราเมตริกใช้ Dependent t-test สถิตินอนพาราเมตริกใช้ Wilcoxon signed – ranks test

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติดนตรีเบื้องต้น ของนักเรียนวงโยธวาทิต โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ จากการทดสอบโดยใช้สถิติพารามิเตอร์และสถิติไม่ใช้พารามิเตอร์ พบว่ามีความสอดคล้อง ทั้งสองวิธี โดยพบว่า ทักษะการปฏิบัติดนตรีเบื้องต้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสิถิติ ที่ระดับ .01 2) นักเรียนวงโยธวาทิต มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ที่นักเรียนมีความพึงพอใจสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ดนตรีเบื้องต้น ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ การจัดการเรียนรู้ดนตรีเบื้องต้นตามแนวคิดของแฮร์โรว์ ช่วยให้นักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น และการจัดการเรียนรู้ดนตรีเบื้องต้น ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ สร้างสรรค์ดนตรีในครัวเรือนได้

References

จารุเนตร อินพหล. (2564). การอ่านโน้ตสากลและทักษะการปฏิบัติเมโลเดียนของนักเรียนวงเมโลเดียนระดับประถมศึกษาโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดของซูซูกิ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 174-184.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2531). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. (เอกสารประกอบคำสอน). ภาพพิมพ์.

ชาคริต สายลือนาม. (2563). ชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการบรรเลงรวมวงของวงโยธวาทิตโรงเรียนพระแม่มารี โดยระบบการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102), 108-117.

ถวัลย์ชัย สวนมณฑา. (2557). ประวัติวงโยธวาทิตในประเทศไทย. http://tawanchai.rwb.ac.th/viewer.phpMid=000019.

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2539). ระเบียบวิธีวิจัย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นที ปิ่นวิไลรัตน์ และอินทิรา รอบรู้. (2020). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์, การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). คู่มือสัมมนาเสริมชุดวิชา 24703 การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการ ประเมินการศึกษา ครั้งที่ 2. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

มาเรียม นิลพันธ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. 2547. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ด่านสุทธาการพิมพ์.

บุญธง วสุริย์. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อการถ่ายโยง ทักษะปฏิบัติสำหรับอาชีวอุตสาหกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

วิทยา คุ้มฉายา. (2012). การพัฒนาหลักสูตรเรื่อง การปฏิบัติภารกิจวงโยธวาทิตในพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล สำหรับโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

สุมิตรา อุ่นเปีย. (2014). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดของแฮร์โรว์ที่มีต่อความสามารถในการปั้น ของเด็กอายุ 9-11 ปี. ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Thaigoodview.com. (2557). ประวัติวงโยธวาทิต. http://www.thaigoodview.com/node/148923.

Harrow, A. (1972). A Taxonomy of The Psychomotor Domain: A Guide for Developing Behavioral Objectives. Longman Inc.

Padelford, H. (1984). Psychomotor Skill Acquisition in Technical Subjects. Presented at the American Vocational Association Convention. (Unpublished Manuscript). Prosser, C.A; & Allen, C.R. (1925)

Simpson, D. (1972). Teaching Physical Educations: A System Approach. Houghton Mufflin Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30