การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินการอบรมครูสะเต็มศึกษาระดับประถมศึกษา ด้วยการประเมินผลกระทบโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ธัญญรัศม์ ทองคำ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กาญจนา ตระกูลวรกุล สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การประเมินผลกระทบการอบรมสะเต็มศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ได้แก่ (1) ผลกระทบของการอบรมครูสะเต็มศึกษาด้วยการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน (2) การอบรมครูสะเต็มศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การร่างทฤษฎีโปรแกรม ขั้นตอนที่ 2. การทำความเข้าใจบริบทของโปรแกรม ขั้นตอนที่ 3 การคาดการณ์ความแตกต่าง ขั้นตอนที่ 4 การประเมินสมมติฐาน ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ขั้นตอนที่ 6 การใช้วิธีการเชิงผสม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  เป็นครูที่เข้าร่วมอบรมครูสะเต็มศึกษา จำนวน 6 คน แบ่งตามขนาดโรงเรียน ได้แก่ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล แบบสัมภาษณ์ ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ทฤษฎีโปรแกรมการอบรมครูสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย ได้แก่ โครงการอบรมครูสะเต็มศึกษา ได้แก่ เจตคติที่ดีต่อการสอนสะเต็มศึกษา ความรู้ด้านเนื้อหารายวิชา ความรู้การจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา และทักษะการสอนแบบสะเต็มศึกษา และ ได้แก่ คุณภาพนักเรียน (2) ผลกระทบของการอบรมครูสะเต็มศึกษาตามทฤษฎีโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การอบรมครูสะเต็มศึกษา เจตคติที่ดีการสอนสะเต็มศึกษา ความรู้ด้านเนื้อหารายวิชา ความรู้การจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา ทักษะการสอนสะเต็มศึกษา และคุณภาพนักเรียน พบว่า  ทั้ง 6 ตัวบ่งชี้โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

References

ณิชภัทร นนทะโส. (2561). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].

เนตรชนากานต์ สุนันตา. (2559). การประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากขยะเทศบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

พิสณุ ฟองศรี. (2553). การประเมินโครงการฝึกอบรม. ด่านสุทธาการพิมพ์.

รสริน พันธุ. (2562). รูปแบบการพัฒนาผู้นำครูสะเต็มศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเยงใหม่ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่].

รุจิรากานต์ เสนาคง. (2559). การประเมินผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาง จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์].

วาสนา ประภาษี. (2560). การศึกษาวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี].

วิจิตรา วิทยาไพโรจน์. (2553). การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการผลิตน้ำตาลจากอ้อยโดยหลักการประเมินวงจรชีวิต [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี].

อับดุลยามีน หะยีขาเดร์. ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์].

Australian Government AusAID. (2012). Impact evaluation: A discussion paper for AusAID practitioners. https://dfat.gov.au/aid/how-we-measure-performance/ode/Documents/impact-evaluation-discussion-paper.pdf.

Center for Development and Cooperation. (2017). What are impact evaluations? Retrieve from In collaboration with ETHZ, NADEL, Center for Development and Cooperation.

Mole, K. F., Hart, M., Roper, S., Saal, D. S. (2009). Assessing the Effectiveness of Business Support Services in England Evidence from a Theory-Based Evaluation. International Small Business Journal, 27, 557–582.

Sridharan, S. & Nakaima, A. (2010). Ten steps to making evaluation matter. Evaluation and Program Planning.

White, H. (2009). Theory-based impact evaluation: principles and practice. Journal of Development Effectiveness, 3, 271–284.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30