การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครู ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ปรมะ พรหมเครือ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เรืองเดช ศิริกิจ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กาญจนา ตระกูลวรกุล สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครู

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยแนวคิดการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน (2) ผลการประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามทฤษฎีโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับใด วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ขั้นตอนที่ 2. การประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารไปปฏิบัติในสถานศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 59 ข้อ แบบสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ทฤษฎีโปรแกรมที่มีสำหรับประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยองค์ประกอบของทฤษฎีโปรแกรม 3 ด้าน ได้แก่ ตัวแทรกแซง ประกอบด้วย การพัฒนาครู การประเมินตนเอง การสื่อสารภาษาอังกฤษของครู และการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวกำหนด ประกอบด้วย การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เจตคติที่ดีต่อการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของครู ความมั่นใจในการสื่อสารของครู และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน ผลลัพธ์ ประกอบด้วย พฤติกรรมการสอนของครู และความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน (2) ผลการประเมินผลกระทบของการประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย การพัฒนาครู  การสื่อสารภาษาอังกฤษของครู การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ การรับรู้ความสามารถทางภาษาของตนเอง เจตคติต่อการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ความมั่นใจในการสื่อสารของครู ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ พฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสาร จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับมาก การประเมินตนเอง ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนของครู ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับปานกลาง

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545) การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). เนติกุลการพิมพ์.

เบญจมาภรณ์ งามยิ่ง. (2561) การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมด้วยการสืบค้นร่องรอย สำหรับประเมินการส่งเสริมค่านิยมการรู้จักดำรงตนอยู่ โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

ปิยพงษ์ คล้ายคลึง. (2556). การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความสำเร็จของการนำนโยบายปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาโดยใช้วิธีอุปนัยและนิรนัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภา บำเรอจิตร. (2542). อัตราการตอบกลับต่ำของแบบสอบถามทางไปรษณีย์ซึ่งตอบด้วยความจริงใจที่ทำให้ตัว ประมาณค่าไม่ลำเอียง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วิยดา เหล่มตระกูล. (2546). การพัฒนาวิธีการประเมินความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมครูตามแนวคิดการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สุภาพร โภคาพาณิชย์, (2559). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรชั้นนำ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 33(94), 12-21.

Chen, H. T. (2005). Practical program evaluation: Assessing and improving planning, implementation and effectiveness. Sage Publications.

Funnell, S. C., & Rogers, P. J. (2011). Purposeful program theory: Effective use of theories of change and logic models. John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30