พฤติกรรมจิตอาสาของผู้สูงอายุในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระปลัดอำนวย สุภทฺโท สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, จิตอาสา, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมจิตอาสาของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรวมกลุ่มจิตอาสาของผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาลักษณะกิจกรรมจิตอาสาและผลจากการทำกิจกรรมจิตอาสาของผู้สูงอายุกับการพัฒนาสังคมในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 394 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S. D.) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Scheffe’s post hoc comparison) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique) ผลการวิจัยพบว่า

  1. โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3.82 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านจิตสำนึกสาธารณะ 3.86 รองลงมาด้านการมุ่งมั่นพัฒนาสังคม 3.85 ด้านการเสียสละต่อสังคม 3.80 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ ด้านการช่วยเหลือผู้อื่น ตามลำดับ
  2. ที่มีการศึกษาต่างกัน ไม่มีผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของผู้สูงอายุแต่อย่างใด ส่วนจิตอาสาผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ อาชีพต่างกัน ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของผู้สูงอายุ ส่วนด้านช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อรวมตัวกันระหว่างจิตอาสา ซึ่งจิตอาสาผู้สูงอายุในเขตดอนเมืองส่วนมากใช้โทรศัพท์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารเพื่อรวมตัวกันระหว่างจิตอาสาด้วยกัน และสาเหตุที่รวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคม เนื่องจากทำแล้วมีความสุข เห็นคุณค่าในตนเอง มีความรู้สึกอยากแบ่งปัน
  3. จิตอาสาผู้สูงอายุในเขตดอนเมือง ในส่วนของกิจกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นงานด้านจิตอาสา ประเภททำความสะอาด การบำรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อาทิ การปลูกต้นไม้ การดูแลแหล่งน้ำ รณรงค์เรื่องขยะภายใต้โครงการหน้าบ้านน่ามอง โครงการลดภาระขยะมูลฝอย โครงการณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก รณรงค์เกี่ยวการป้องกันลูกน้ำยุงลาย ดังนั้น ผู้สูงอายุมีความตั้งใจที่จะเห็นความสุขของทุกๆ คนในสังคม คือการได้แบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กับคนอื่น เห็นผู้อื่นมีความสุข รวมถึงได้ถ่ายทอดทักษะความรู้ ประสบการณ์ชีวิตที่ตนใช้เวลาของชีวิตสั่งสมมาเพื่อถ่ายทอดเป็นบทเรียนชีวิตให้กัน และมีความภาคภูมิใจที่ได้เห็นความสำเร็จในสิ่งที่ทำ ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น และยังมีแนวทางปฏิบัติตามหลักความพอดี พอประมาณ มีเหตุผล และการช่วยเหลือผู้อื่น นั่นจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จของงานจิตอาสาของผู้สูงอายุ

References

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัย อย่างมีคุณภาพ. วารสารกึ่งวิชาการ. มกราคม - เมษายน. 38 (1).
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 3. 16 สิงหาคม.
ณมน ธนินธญางกูร และคณะ. (2561). การศึกษาพฤติกรรมและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักสุขภาวะชุมชน กรณีศึกษา : บ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารชุมชนวิจัย. พฤษภาคม – สิงหาคม. 12 (2).
เดชา ปุญญบาล. (2560). 9 ตามรอยบาท ศาสตร์พระราชา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22 (2).
พระครูประภัทรสุตธรรม (วงศ์สุนทร) (2561). การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการทอผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านดูนาหนองไผ่ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สคราญนิตย์ เล็กสุทธ์. (2561). การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าฝ้ายทอมือที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรมของกลุ่มผ้าฝ้ายทอ มือบ้านหนองเงือก ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. กันยายน – ธันวาคม. 12 (29).
สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. (2561). สถิติประชากร แยกละเอียด ข้อมูลของท้องถิ่นเขตดอนเมืองของเดือนสิงหาคม 2561. สุวิทย์ อยู่เปรม. วันที่ 7 กันยายน.
สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย ส่วนอนามัยผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข.(2561). บทบาทผู้สูงอายุต่อสังคม ครอบครัวชุมชน. [ออนไลน]. แหล่งที่มา: http://hp.anamai.moph.go.th/ soongwai/statics/ about/soongwai/topic006.php. สืบค้น เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม.
สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยสําหรับรัฐประศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30