รูปแบบการพัฒนาระบบเครือข่ายและความรับผิดชอบต่อสังคมของอุตสาหกรรมผลิตแก้วไทย

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย เครือวุฒิกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เครือข่าย, ความรับผิดชอบต่อสังคม, อุตสาหกรรมผลิตแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาระบบเครือข่ายและความรับผิดชอบต่อสังคมอุตสาหกรรมผลิตแก้วในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและพนักงานโรงงานประกอบการอุตสาหกรรมผลิตแก้ว จำนวน 10 โรงงาน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 350 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

รูปแบบการพัฒนาระบบเครือข่ายและความรับผิดชอบต่อสังคมอุตสาหกรรมผลิตแก้วในประเทศไทย มีรูปแบบการสนับสนุนและดูแลสังคม การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษา การส่งเสริมศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม การสนับสนุนและดูแลสุขภาพ การส่งเสริมอาชีพและดูแลชุมชน การดูแลด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมบุคลากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย - จิตใจ และด้านสุขภาพทางการเงินของครอบครัว และการส่งเสริมศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม

References

ขวัญปภัสสร จานทอง. (2557). “อิทธิพลของปัจจัยภูมิหลังการมุ่งประกอบการ และเครือข่ายทางสังคม ต่อความสำเร็จทางธุรกิจของ ผู้ประกอบการจังหวัดราชบุรี.” วารสารสมาคมนักวิจัย. 19 (1), มกราคม – เมษายน.
จุมพล พูลภัทรชีวิน และคณะ. (2549). “การวิจัยและพัฒนากระบวนการสร้างความดีมีคุณธรรม.” ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
ณรัฐ วัฒนพานิช. (2551). “การปรับพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7”. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เทพีวรรณ จิตรวัชรโกมล. (2558). ห้องปฏิบัติการเชี่ยวชาญด้านแก้วมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยทุกระดับ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. 63 (197), มกราคม.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนส อาร์ แอนด์ ดี.
ไผท วงศ์อนุตรโรจน์. (2545). “กระบวนการสร้างและพัฒนาเครือข่ายทางสังคม : กรณีศึกษาบ้านหนองขาวอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Denzin, N. (1970). Sociology: Methodology: Research. New York: Prince Hall.
Global Entrepreneurship Monitor. (2560). GEM Report. แหล่งที่มา: http://www.gem-consortium.org/docs/download. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30