รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติการอาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัยแบบสังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • วรพล สิทธิจิตต์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัย, การปฏิบัติการอาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัย, กระบวนการมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการการปฏิบัติการอาสาสมัคร กู้ชีพ-กู้ภัยแบบสังคมพหุวัฒนธรรม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการปฏิบัติการ อาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัยแบบสังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติการอาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัยแบบสังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 42 รูป/คน พร้อมกับนำเสนอและยืนยันรูปแบบด้วยการจัดการประชุมกลุ่ม จากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความและสรุปเป็นประเด็น ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการจัดการการปฏิบัติการกู้ชีพ-กู้ภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพฤติกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการอยู่ 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล (อาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัย) ระดับองค์กรสาธารณกุศล และ ระดับหน่วยงานของรัฐ โดยระดับบุคคล (อาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัย) มี 4 องค์ประกอบ คือ การรับรู้ การเรียนรู้ การปรับตัว และความคาดหวัง ระดับองค์กรสาธารณกุศลมี 3 ประการ คือ โครงสร้างการทำงาน การสนับสนุน และเสริมแรง และการสร้างเครือข่าย และระดับหน่วยงานภาครัฐ มี 3 องค์ประกอบ คือ การกำหนดนโยบาย การสนับสนุนส่งเสริม การสร้างเครือข่าย
  2. กระบวนการในการพัฒนาการปฏิบัติการ มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น/เตรียมความพร้อม ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นพัฒนา
  3. โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แบ่งการปฏิบัติออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ คน เครื่องมือ องค์ความรู้ และเครือข่าย ขั้นการปฏิบัติ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 6 ส่วน คือ ระบบการทำงาน การบูรณาการ การประเมินผล การรับประโยชน์ ระบบความปลอดภัย ความเชื่อ และขั้นการสร้างเครือข่าย ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ ภาครัฐ องค์กรสาธารณกุศล อาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัย และภาคประชาชน

References

กอบกุล สาวงศ์ตุ้ย และคณะ. (2558). รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสู่การปฏิบัติเขตพื้นที่ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง.
โครงการส่งเสริมความร่วมมือด้านงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน. (2561). เครือข่ายจิตอาสา: งานอาสาสมัคร จิตอาสา (Volunteer Network). การศึกษาดูงานโครงการส่งเสริมความร่วมมือ ด้านงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กับองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญของประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 24 – 29 กันยายน 2561 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น.
นพมาศ อุ้งพระ (ธีรเวคิน). (2539). การเสียสละและพฤติกรรมเพื่อสังคมในจิตวิทยาสังคมกับชีวิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระธรรมปิฎก. ป.อ.ปยุตโต. (2540). พจนานุกรมพุทธศาสตร์: ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มัสลัน มาหะมะ. (2562). “หลักศรัทธา 6 ประการ”. มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา. แหล่งที่มา: www.Religionfacts.com/Islam/beliefs. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562.
เมธี จันท์จารุภรณ์ และคณะ. (2541). การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างประชาชน, นครสวรรค์: สำนักพิมพ์สุขุมและบุตร.
รักษ์นรินทร์ แก้วมีศรี และคณะ. (2560). “การพัฒนารูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบบูรณาการเชิงพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในบริบทชุมชนภายใต้สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท”. รายงานการวิจัย. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.). กรุงเทพมหานคร: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.).
วิชัย โชควิวัฒน์. (2562). ฉือจี้ : โมเดลเพื่อการพัฒนามนุษย์. แหล่งที่มา: www.jobbkk.com/th/jobs_Njc#NTMx_นักศึกษาฝึกงาน.html. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562.
วิชัย มีชาติ. (2548). พฤติกรรมการบริหารองค์กรสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา ชาติบัญชาชัย. (2554). ระบบบริการแพทย์ฉุกเฉิน ในยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจร ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (ม.ป.ป.). ความหมายของการพัฒนา คำที่มีความหมายใกล้เคียง และแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep south). (2561). รายงานสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงในชายแดนใต้ ปาตานี. ไตรมาศ 3/2561.
สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2561). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 21. วัดญาณเวศกวัน. นครปฐม.
สุนิตย์ เชรษฐ และวินย์ เมฆไตรภาพ. (2548). การศึกษาประยุกต์บทเรียนงานอาสาสมัครตาก ต่างประเทศเพื่อการพัฒนาระบบอาสาสมัครในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. สถาบันไทยรูรัลเน็ต TRN ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2551). “พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม”. รายงานการวิจัย. ศูนย์ภูมิภาคทางสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน. คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30