แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยววัดเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พลวัฒน์ ชุมสุข คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, การท่องเที่ยววัดเชิงวัฒนธรรม, พระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยววัดเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยววัดเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้าอาวาสวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและสรุปผลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 

  1. การไม่รักษาความสะอาด เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่มาภายในวัดส่วนใหญ่ไม่ช่วยกันรักษาความสะอาด แม้มีการจัดสถานที่สำหรับทิ้งขยะไว้ตามจุดต่างๆ แต่ก็ยังมีปัญหา นอกจากนี้ ยังมีปัญหาลักเล็กขโมยน้อย ทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากมาเที่ยวภายในวัด
  2. แหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดที่มีศิลปวัฒนธรรม เป็นวัดทางพระพุทธศาสนา ที่เสริมสร้างให้ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม และสร้างภูมิปัญญาให้กับผู้ที่มาท่องเที่ยวหรือนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศให้ได้เห็นวัฒนธรรม ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ได้มาเห็นสิ่งสวยงามอันเป็นวัฒนธรรมของชาติไทย และยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจะได้นำมูลค่าเพิ่มต่างๆ เหล่านั้นพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้สวยงามยิ่งขึ้นไป
  3. การท่องเที่ยววัดเชิงวัฒนธรรมมีหลายวัดในเขตเมืองพระนครศรีอยุธยาที่จัดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดใหญ่ชัยมงคล วัดกษัตราธิราชวรวิหาร วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดราชบูรณะ วัดเชิงท่า วัดแม่นางปลื้ม วัดไชยวัฒนาราม และวัดมหาธาตุ เป็นต้น ในแต่ละวัดยังเป็นศาสนสถานที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีค่าควรศึกษาในเชิงวัฒนธรรม

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กวี รักษ์ชน. (2541). การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เอกสารทางวิชาการคณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กองกรรมาธิการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2540). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันในยุคของการค้าเสรี. กรุงเทพมหานคร: กองกรรมาธิการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
กาญจนา นาคสกุล. (21 พ.ย. 2555) ยุทธศาสตร์-ยุทธวิธี. แหล่งที่มา: http://www.royin.go.th/ th/knowledge/detail.php?ID=206. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2555.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). พัฒนาท่องเที่ยวไทยในทิศทางที่ยั่งยืน .กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (31 ธ.ค. 2555) มอบวุฒิบัตรแก่ผู้บริหารงานยุติธรรมระดับต้น. แหล่งที่มา: http://www.moj.go.th/th/cms/detail.php?id=26216. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2555.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: เพรส แอนด์ดีไซด์จำกัด.
เรืองแสง ทองสุขแสงเจริญ. (2542). การรับรู้ปัญหาและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งโบราณสถานของประชาชนในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2546). อยุธยายศยิ่งฟ้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
Buhalis, D. (2000). Strategic ues of information technologies in the tourism industry. Tourism Management. Essex: Pearson Education.
Yupadee Sataphan. (2005). Geography. Tourism Geography of Thai Tourism. 5th Edition. Bangkok: Pisit edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30