รูปแบบเกษตรผสมผสานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • พระวีรเดช ฐานวีโร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เกษตรผสมผสาน, สิ่งแวดล้อม, จังหวัดเพชรบูรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการเกษตรผสมผสานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เชิงเอกสารและลงในภาคสนาม (Field Study) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ผู้นำกลุ่ม สมาชิกกลุ่มเกษตรกร จำนวน 3 กลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้นำท้องถิ่น เกี่ยวด้านการเกษตร รวมทั้งสิ้น 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interviews) การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) การวิเคราะห์ผล วิเคราะห์ตามเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 

รูปแบบเกษตรผสมผสานในจังหวัดเพชรบูรณ์จากการถอดบทเรียนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านแนวคิด มองว่าคนที่คิดจะทำแบบแบบผสมผสาน ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องมีหลักอยู่ 3 ประการ 1) ใจรัก 2) ความอดทน 3) ความซื่อสัตย์ 2. ด้านหลักการ หลักการสำคัญ 3 ประการ 1) การพึ่งพาตนเอง 2) ความปลอดภัยด้านสุขภาพ 3) ความรู้จักพอประมาณในการเลี้ยงชีพ 3. ด้านหลักปฏิบัติหรือกิจกรรมที่ทำการจัดการให้เกิดความสมดุลใน 3 อย่าง 1) ดิน 2) น้ำ 3) พืช 4. ด้านปัจจัยที่ส่งเสริมและอุปสรรคต่อความสำเร็จ ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้นั้นต้อง มีใจรัก ซื่อสัตย์ มีอดทน ใช้ชีวิตแบบพอเพียง พอประมาณ และการรู้จัดการดิน น้ำ พืช สัตว์ อย่างสมดุล ส่วนอุปสรรคในการทำเกษตรผสมผสาน คือ ท้อใจ ไม่มีความอดทน การไม่รู้จักพอในการดำรงชีวิต และ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30