ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ พฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ด้านความงามของผู้บริโภคผ่านช่องทางการค้าแบบดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • กานต์พิชชา งามชุ่ม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนประสมทางการตลาด พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อและกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ด้านความงามผ่านช่องทางการค้าแบบดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ t-test, One way ANOVA, และการเปรียบเทียบรายคู่ LSD ผลการวิจัยพบว่า

ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30 - 39 ปี สถานภาพโสด ระดับชั้นการศึกษาปริญญาตรี อาชีพ เอกชน/รับจ้าง และรายได้ต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านอารมณ์ออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกระบวนการตัดสินใจซื้อ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก  โดยมีการประเมินทางเลือกอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในด้านอายุ ระดับชั้นการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน  มีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในด้านอายุ สถานภาพ ระดับชั้นการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน มีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อแตกต่างกัน  ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในด้านอายุ สถานภาพ ระดับชั้นการศึกษา มีกระบวนการตัดสินใจซื้อแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในด้านอายุ สถานภาพ ระดับชั้นการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

กัณภร ยั่งยืน. (2557). กลยุทธ์ทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางทางอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ปริยวิศว์ ชูเชิด. (2558). ปัจจัยความสัมพันธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ สินค้าออนไลน์. การค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (10 เม.ย. 2560). รายงานผล การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560. แหล่งที่มา: https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile- 2017.html. (10 เมษายน 2560).
Cohen, J. (1962). The statistical power of abnormal–social psychological research: A review. Journal of Abnormal and Social Psychology. 65(3). 145–153.
Cooper, Donald R. and Pamela S. Schindler. (2006). Marketing Research. McGraw Hill International Edition.
Khazanie, Ramakant. (1996). Statistics in a World of Applications. Fourth Edition. New York: USA. Harper Collins College Publishers.
Richard, M. O., & Chebat, J. C. (2016). Modeling online consumer behavior: Preeminence of emotions and moderating influences of need for cognition and optimal stimulation level. Journal of Business Research. 69. 541–553.
Rovinelli, R.J. (1976). Methods for Validating Criterion-Referenced Test Items. Unplblisded Doctoral Dissertation. University of Massachusetts Amherst. The source: https://scholarworks.umass.edu/cgi/viewcontent.cgi?referer=https://www.google.co.th/&httpsredir=1&article=4661&context=dissertations_1.
Thumb sup. (May 9, 2013). Digital Marketing trend 2013. The source: http://thumbsup.in.th/2013/05/top-4-digital-marketing-trends-2013/. Retireved May 9, 2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31