กระบวนการพัฒนาสุขภาวะเชิงพุทธบูรณาการของชุมชนในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พระครูไพโรจน์ ธรรมคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, สุขภาวะเชิงพุทธ, ชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษารูปแบบและกระบวนการพัฒนาสุขภาวะของชุมชน 2) ศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการพัฒนาสุขภาวะของของชุมชน 3) เพื่อนำเสนอการพัฒนาสุขภาวะเชิงพุทธบูรณาการของชุมชนในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาเอกสารและแนวคิดเกี่ยวกับงานวิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน 18 คน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประกอบด้วย 1) รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตามโครงสร้างและหน้าที่ โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกันวางแผน ดำเนินการพัฒนา และประเมินผล 2) รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะเชิงเครือข่าย เริ่มจากวัด อาสาสมัครสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบล ร่วมกันเป็นเครือข่ายก่อให้เกิดการดูแลสุขภาวะของชุมชน และ 3) รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะของชุมชน ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านปัญญา
  2. ชุมชนต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยงกันระหว่างการดูแลในครอบครัว สถาบัน และ ชุมชน ซึ่งหลักพุทธธรรม ได้แก่ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา เป็นแนวคิดหรือหลักปฏิบัติที่เชื่อมโยงวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
  3. เป็นการพัฒนาสุขภาวะของชุมชนตามหลักภาวนา โดยกายภาวนาทางกายภาพ การรู้จักใช้อินทรีย์อย่างมีสติ เลือกที่จะดูเป็น ฟังเป็น กินด้วย ปัญญา ศีลภาวนาเป็นความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม มีพฤติกรรมดีงามในความสัมพันธ์กับผู้อื่น จิตตภาวนา เป็นการทำจิตให้เจริญงอกงาม ดีงาม เข้มแข็ง ให้ชุมชนมีความสุขเบิกบาน ปัญญาภาวนา หรือ การพัฒนาปัญญาสำหรับชุมชนจะเกิดได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยสองตัวคือ ปรโตโฆษะ ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกและ โยนิโสมนสิการซึ่งเป็นปัจจัยภายใน ปัจจัยทั้งสองเชื่อมโยงสัมพันธ์ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นปัญญาช่วยให้ชุมชนเข้าใจความจริง และอยู่กับความจริงได้อย่างมีความสุข

References

พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต. (2557). “การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัด ขอนแก่นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก, (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ). (2551). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิถีชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพ แบบองค์รวมของพระสงฆ์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2545). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
พระไพศาล วิสาโล และสมควร ใฝ่งามดี. (2536. “ป่า: รักษาได้โดยไม่ต้องไล่คน” พลิกพื้นดินไทยให้เขียวชอุ่ม ทางเลือกใหม่เพื่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย : ความรู้ การจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
ลลิตา ธีระศิริ. (2544). บำบัดโรคด้วยแพทย์ทางเลือก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: รีดเดอร์ไดเจสท์ (ประเทศไทย).
สมพันธ์ เตชะอธิก และวินัย วงศ์อาสา. (2555). “สุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข”. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 29(2). พฤษภาคม - สิงหาคม.
สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส). (2546). สุขภาพทางจิตวิญญาณสู่สุขภาพทางปัญญา. กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31