การวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมหลักการแห่งเศรษฐศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระคมสัน เจริญวงค์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธธรรม, หลักการ, พุทธเศรษฐศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักการวิธีการและองค์ประกอบทางเศรษฐศาสตร์ตามหลักพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมหลักการแห่งเศรษฐศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดย 1) รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาแนวคิดเศรษฐศาสตร์ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา 2) รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารต่าง ๆ เพื่อศึกษาหลักการ วิธีการ องค์ประกอบทางเศรษฐศาสตร์ตามหลักพระพุทธศาสนา และหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมหลักการแห่งเศรษฐศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า

  1. แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้แก่ การผลิต การบริโภค การเงิน ปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ความสุขของชีวิตมนุษย์ การบริโภคใช้สอยปัจจัยพื้นฐาน คุณค่าของกาลเวลา และการคำนึงถึงประโยชน์ยิ่งกว่าการถือฤกษ์ยาม
  2. หลักการ ได้แก่ สิ่งต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันและต้องอาศัยกัน มนุษย์มีความเห็นแก่ตัวและความเห็นแก่ผู้อื่น มนุษย์มีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและทรัพย์สิน การยึดหลักศีลธรรมและการช่วยเหลือสังคม การมีเป้าหมายด้านจิตวิญญาณ วิธีการ ได้แก่ การแบ่งปันช่วยเหลือ การทำประโยชน์ต่อสังคม การรู้จักพอประมาณ การมีความรู้ การรู้จักประหยัด และการพึ่งตนเอง องค์ประกอบ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การมีความรู้ และมีคุณธรรม
  3. หลักพุทธธรรมส่งเสริมหลักการแห่งเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ หลักอริยทรัพย์ หลักการพึ่งตนเอง หลักความไม่ประมาท หลักการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และหลักความซื่อสัตย์และหิริโอตตัปปะ

References

ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2560). ศาสนากับการพัฒนา. นนทบุรี: ดีไซน์ ดีไลท์.
ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์. (2560). เศรษฐศาสตร์บนทางสายกลาง. นนทบุรี: หจก.โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี..
ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ. (2557). วิเคราะห์ค่านิยมบริโภคตามแนวพระพุทธศาสนา. รายงานผลการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2559). พระพุทธศาสนาทุนอันยิ่งใหญ่เพื่อพัฒนาประเทศไทย. สมุทรปราการ: ออฟเซ็ทพลัส.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2545). ทุนนิยมกับพุทธศาสนา. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 9 (1), 8.
พระมหาศิริวัฒน์ อริยเมธี. (2557). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากมุมมองของพระพุทธศาสนา. รายงานผลการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมโภช ฐิติญาโณ. (2535). ศึกษาวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ตามแนวพระไตรปิฎก. รายงานผลการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2549). การใช้การสร้างตัวชี้วัดเพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียง โดยเปรียบเทียบกับหลักพุทธศาสตร์. รายงานผลการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พุทธิตา รักพงศ์. (2551). การศึกษาเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ : ศึกษาเฉพาะกรณีโภควิภาค 4. รายงานการวิจัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำราญ อิ่มจิตต์. (2547). เศรษฐปรัชญาในพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.
อภิชัย พันธเสน. (2558). พุทธเศรษฐศาสตร์ : วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: อมรินท์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
Alexander H. Shand. (1990). Free Market Morality: The Political economy of the Austrian school. London: Routledge.
Ayn Rand. (1967). Capitalism: The Unknown Ideal. New York: Penguin Books.
Layard, Richard. (2005). Happiness: Lessons from a New Sciene. London: Penguin Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31