การจัดการเงินและทรัพย์สินของวัด
คำสำคัญ:
การจัดการ, เงิน, ทรัพย์สิน, วัดบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ ศึกษาเรื่อง การจัดการเงินและทรัพย์สินของวัดจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งบุคคลหรือนิติบุคคลที่เหมาะสมเป็นผู้กระทำการแทนเจ้าอาวาสในการจัดประโยชน์ ซึ่งโดยทั่วไปรายได้ของวัดจะมาจากการรับบริจาคโดยตรง อาทิ รายได้จากตู้รับบริจาค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการที่ดีของวัดในอุดมคติควรต้องมาจากการยึดหลักคุณธรรมของเหล่าผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะแม้พระภิกษุจะมีพระธรรมวินัยเป็นหลักการประพฤติปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมแล้ว แต่หากคฤหัสถ์ผู้ได้รับมอบหมายในการดำเนินกิจการแทน ได้แก่ ไวยาวัจกรหรือคณะกรรมการวัดไม่ยึดหลักคุณธรรมในการบริหารกิจการ ย่อมทำให้เกิดความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
References
คณาจารย์เลี่ยงเชียงจงเจริญ. (2542). นวโกวาท ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง จงเจริญ.
ณดา จันทร์สม. (2554). “โครงการศึกษาการบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย ระยะที่สอง: การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย”. รายงานการวิจัย. สำนักวิจัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2546). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: ธนชัชการพิมพ์.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548). หลักธรรมาภิบาลและประมุขศิลป์. กรุงเทพมหานคร: ชัยมงคลพริ้นติ้ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถาบันพระปกเกล้า. (2550). วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. การบริหารจัดการวัดและศาสนสถาน. ม.ป.ท.: ม.ป.ป.