พุทธเศรษฐศาสตร์ในทัศนะของปราชญ์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เดช ชูจันอัด คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธเศรษฐศาสตร์, ทัศนะของปราชญ์, ปราชญ์ในประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทัศนะของนักปราชญ์ไทยตามหลักพุทธเศรษฐศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาวิธีการและแนวทางการปฏิบัติของนักปราชญ์ไทยตามหลักพุทธเศรษฐศาสตร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธเศรษฐศาสตร์ในสังคมไทย เป็นการศึกษาโดยการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยรวบรวมข้อมูลทำการถอด บทความ ตำรา หนังสือ สิ่งพิมพ์ จากหนังสือ ตำรา รายงานงานวิจัย บทความทางวิชาการ และเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น จากนักปราชญ์ด้านพุทธเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย วิเคราะห์ตามเนื้อหา (Content analysis) และสังเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า

  1. แนวคิดและทัศนะหลักพุทธเศรษฐศาสตร์ อาศัยหลักการจากความสันโดษและสัมมาอาชีวะในพระพุทธศาสนา ถ้าทุกคนรู้จักพอเพียงดำเนินชีวิตตามสมควรแก่ฐานะ ก็จะไม่เกิดการปล้น ฆ่า แย่งชิงทรัพย์ของผู้อื่น ปัญหาเรื่องการเบียดเบียนแย่งชิงก็จะน้อยลง สังคมก็จะสงบสุข เพราะเศรษฐกิจมีความสำคัญมาก ไม่เฉพาะในแง่ที่ว่าสัมมาอาชีวะเป็นองค์หนึ่งในมรรคมีองค์ 8 เท่านั้น การได้บริโภคหรือความพร้อมในทางเศรษฐกิจจึงไม่ใช่จุดหมายในตัว เป็นระบบเศรษฐศาสตร์ที่ทำให้เราอยู่ร่วมกับทรัพยากรอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย เป็นแนวทางใหม่ในการทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์ นำเอาวิธีการอนุมาณเชิงตรรกะเข้ามาใช้ในวิชาเศรษฐศาสตร์
  2. วิธีการและแนวทางการปฏิบัติตามหลักพุทธเศรษฐศาสตร์ นำมาประยุกต์เข้ากับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า “สังคมสีเขียว” การสร้างอารยธรรมวิธีแก่พุทธศาสนิกชน นำไปจัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ การประยุกต์พุทธเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ โดยยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม
  3. หลักพุทธเศรษฐศาสตร์ในสังคมไทย เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการกับปัญหาที่เรา เผชิญอยู่ปัจจุบัน เครื่องมือในการวิเคราะห์นี้มีความต้องการเพียงให้ประชาชนตระหนักถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ตามกฎธรรมชาติ คือความไม่มีอยู่ของตัวตน ถ้าแนวความคิดนี้ได้รับความ เข้าใจอย่างชัดเจน ชีวิตมนุษย์จะได้รับการมองจากแง่มุมที่แตกต่างออกไปจากการเป็นผู้บริโภค สิ่งที่มีความหมายมากที่สุดในชีวิตไม่ใช่มาจากการบริโภค การบริโภคอย่างเหมาะสม จะไม่ทำให้ให้เกิดการทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

References

คณะกรรมการแผนกตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย. (2538). มงคลัตถทีปนีแปล. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสภา. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์ จำกัด.
อภิชัย พันธเสน. (2547).พุทธเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30