การพัฒนาคนบนฐานอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมม้ง : กรณีศึกษา บ้านเจดีย์โคะ ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ บุญเทียน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

การพัฒนาคน, อัตลักษณ์, วิถีวัฒนธรรมม้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคน ความสัมพันธ์และการทำหน้าที่พื้นฐานทางสังคมบนพื้นฐานอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมม้ง โดยมีระเบียบวิธีวิจัย คือ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำสายตระกูลแซ่ ปราชญ์หรือผู้แทนที่ชุมชนเคารพนับถือ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562 วิเคราะห์ด้วยเทคนิควิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. อัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมม้งมีลักษณะเฉพาะ เสมือนจารีตหรือกฎหมายเชื่อมโยงกับระบบผลิต ระบบคุณค่า และระบบความสัมพันธ์อย่างเป็นองค์รวม
  2. ความสัมพันธ์กับระบบสังคมพบการนำวัฒนธรรมแบบดั่งเดิมมากำหนดพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและทำหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ (1) การปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมอย่างเป็นพลวัต (2) การบรรลุเป้าหมายทิศทางการพัฒนาคนด้วยระบบคุณค่านำมาสร้างสำนึกร่วมชาติพันธ์เดียวกัน (3) บูรณาการผ่านการสร้างความสัมพันธ์ของสายสกุลแซ่ตนเองและการรวมตัวของกลุ่มต่างสายตระกูลแซ่ แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน (4) การรักษาแบบแผน ฟื้นฟู สืบทอดอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมม้งไว้
  3. อัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมม้ง คือ ฐานรากของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและคุณธรรม

References

จังหวัดตาก, สำนักงานจังหวัด. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดตาก พ.ศ.2561-2564. ตาก : สำนักงานจังหวัดตาก.
จังหวัดกำแพงเพชร, สำนักงานจังหวัด. (2560). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ การทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2561-2564 ฉบับทบทวนใหม่ (รอบปี 2562). กำแพงเพชร: สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร.
จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีววิต. (2551). วัฒนธรรม การสื่อสารและอัตลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2551). การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทาง และปัญหา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์. (2561). หลักพัฒนศึกษา: จตุรภาคของการศึกษาเพื่อการพัฒนา. พิษณุโลก: ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิยพรรณ (พลวัฒนะ) วรรณศิริ. (2550). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ยศ สันตสมบัติ และคณะผู้วิจัย. (2551). อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (องค์การมหาชน).
วสันต์ ปัญญาแก้ว. (บรรณาธิการ). (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมวิทยา. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฏีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ส. เอเซียเพรส.
สุขเกษม ขุนทอง. (2557). รูปแบบการพัฒนาชุมชนบนฐานนิเวศวัฒนธรรมชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สุขเกษม ขุนทอง และถิรวิทย ไพรมหานิยม. (2562). ประวัติศาสตร์วิถีวัฒนธรรมการแต่งงาน กลุ่มชาติพันธ์ม้ง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). ทฤษฏีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2559). ทฤษฏีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรศักดิ์ บุญเทียน. (2562). การพัฒนาคนบนฐานอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมม้ง: กรณีศึกษา บ้านเจดีย์โคะตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2561). การพัฒนาชุมชน: แนวคิดและทฤษฏีการพัฒนา ประเด็นปัจจุบันและกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน. (2560). แผนพัฒนาตำบลมหาวัน พ.ศ. 2561-2564. ตาก: องค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30