นวัตกรรมและเครือข่ายทางสังคมจากการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของ คณะสงฆ์ไทย
คำสำคัญ:
หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล, นวัตกรรม, พุทธศาสนากับสังคมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ในสังคมไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางสังคมของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์ไทย และ 2) เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม กับกลไกการทำงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์ไทย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้กระบวนการวิจัยสามารถเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างครอบคลุมเป้าหมายการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า
- เกิดนวัตกรรมสุขภาวะวิถีพุทธในสามลักษณะคือ ลักษณะที่หนึ่งนวัตกรรมเชิงเครือข่ายสังคม ลักษณะที่สองนวัตกรรมเครื่องมือสุขภาวะวิถีพุทธคือศึกษาวิจัย และ ลักษณะที่สามนวัตกรรมนโยบายสุขภาวะวิถีพุทธ
2. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือได้เริ่มต้นนำเสนอมหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้เข้าใจหลักการและมีมติรับทราบเกี่ยวกับการผลักดันการพัฒนาหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลอย่างเป็นทางการ จึงได้สร้างให้เกิดเครือข่ายที่สนับสนุนกลไกการดำเนินงานได้ทั้งระดับประเทศและระดับพื้นที่
References
โกนิฎฐ์ ศรีทอง, ชลวิทย์ เจียรจิตต์, เบญจมาศ สุขสถิตย์ และชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์. (2563). โครงการความรอบรู้ด้านสุขภาพภาวะสังคมและคุณภาพชีวิตในพระสงฆ์. รายงานผลการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: โครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในสังคมไทย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ และสุนทร เดชชัย. (2554). การพัฒนาภาคีเครือข่ายการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข. ในการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2559). องค์กรทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทยยุคปฏิรูป. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ: คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ปาณิสรา วัฒนพฤกษ์ และพัชนี เชยจรรยา. (2558). นวัตกรรมการใช้สื่อเพื่อเข้าถึงพุทธธรรมของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องธรรมะทีวี. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า.
พระมหาสุทิตย์ อาภาโร (อบอุ่น) และคณะ. (2560). การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจับยึดและพลิกคัมภีร์ใบลานอัตโนมัติสำหรับการถ่ายภาพดิจิทัลเพื่ออนุรักษ์คัมภีร์ธรรมทางพระพุทธศาสนา. รายงานผลการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพปวรเมธี. (2562). จากปฏิรูปสู่การปฏิบัติ: แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2563). อดีต ปัจจุบัน และอนาคต งานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย. นนทบุรี : นิติธรรมการพิมพ์.
สุริชัย หวันแก้ว. (2561). วาระการพัฒนาโลกกับอนาคตไทย “กระแสปฏิรูปอ่อนล้าหรือเดินในเขาวงกต?”. วารสารสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Keyes, C., F. (1989). Buddhist Politics and Their Revolutionary Origins in Thailand In International Political Sciences Review.
Mulgan, G., Tucker, S., Ali, R., & Sanders, B. (2007). Social innovation: what it is, why it matters and how it can be accelerated. London: The Basingstoke Press.