กระบวนการอนุรักษ์ศาสนสถานในมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย

ผู้แต่ง

  • ปิยวรรณ หอมจันทร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กระบวนการอนุรักษ์, ศาสนสถาน, มรดกโลกทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของศาสนสถานในมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย 2) ศึกษากระบวนการอนุรักษ์ศาสนสถานในมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย 3) เสนอแนวทางการสร้างสำนึกอนุรักษ์ศาสนสถานในมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยในเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในภาคสนาม โดยใช้วิธีวิทยาวิจัยการแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันศาสนสถานภายในโบราณสถานของประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากภัยพิบัติ สภาวะความผันแปรของอากาศ ความผิดปกติของระดับน้ำเป็นปัญหาด้านภูมิศาสตร์ การขยายเมือง การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนที่ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนและมลพิษจากยานพาหนะ การบุกรุกโบราณสถานเป็นปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อม และปัญหาด้านกฎหมาย/พรบ.โบราณสถานที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน

References

กรมศิลปากร. (2546). คู่มือถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์สมพันธ์ จำกัด.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2555). มาตรฐานการดูแลโบราณสถาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
พระครูวินัยธรเอก ชินวํโส (เฉยประทุม). (2557). การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ม.ล.สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์. (2539). ปัญหาการอนุรักษ์โบราณสถานและวัดในเชียงใหม่. รายงานการศึกษา. เชียงใหม่ : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมพล ดำรงเสถียรและสันติ เล็กสุขุม. (2558). การทดลองออกแบบอาคารสาธารณะในพื้นที่มรดกโลก: นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 14 (3) เดือนกันยายน – ธันวาคม 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31