ความสัมพันธ์ของการบังคับใช้กฎหมายด้านการท่องเที่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น ด้านการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • พชรดนัย วัชรธนพัฒน์ธาดา คณะรัฐปรัศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การบังคับใช้กฎหมายด้านการท่องเที่ยว, การพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบังคับใช้กฎหมายด้านการท่องเที่ยว 2) ระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยว 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบังคับใช้กฎหมายด้านการท่องเที่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเขาคล้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 108 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยแบบ Stepwise ผลการวิจัยพบว่าระดับการบังคับใช้กฎหมายด้านการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.81, S.D.=.20) รายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความรู้ความเข้าใจกฎหมาย (=4.03, S.D.=.48) โดยด้านความชัดเจนของกฎหมายมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (=3.68, S.D.=.48) ระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.78, S.D.=.27) รายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ส่วนด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง (=3.38, S.D.=1.1) ตัวแปรความรู้ความเข้าใจกฎหมาย ช่องว่างกฎหมาย และขอบเขตการใช้กฎหมายร่วมกันทำนายการพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ซึ่งตัวแปรทั้งสามสามารถอธิบายการผันแปรดัชนีการพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวได้ร้อยละ 35.7 โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ การพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยว= 3.20+.14(a)+.13(f)+.10(e) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z การพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยว = .25 (Za)+.21(Zf)+.19(Ze)

References

กาญจนา คงภิรมย์. (2559). แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 35(6). 13-25

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). โปรโมทการท่องเที่ยวเมืองรองในประเทศไทย. แหล่งที่มา: https://voicetv.co.th/read/ SkJ8CUhQG. สืบค้นเมื่อ 4 ม.ค. 2564.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ทรัพยากรการท่องเที่ยวไทยชุดภาคเหนือ จังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กิรพัฆน์ สรรพกุล. (2560). การส่งเสริมและการพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลเมืองระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เกียรติสกุล ชลคงคา และคณะ. (2560). มาตรการทางกฎหมายเพื่อการสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนบนพื้นที่เกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2560). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด.

ณัชญากัญจน์ รัตนวรกานต์. (2561). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 36(3). 180-200

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2562). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.

บังอรศรี ถาวรประดิษฐ์. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการแพท่องเที่ยว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การแปลผลข้อมูลและสถิติเพื่อการวิจัยและพัฒนา. แหล่งที่มา http://www.watpon.com/boonchom/doc. สืบค้น 9 มี.ค. 2564.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2564). กรองกระแสการท่องเที่ยวของประเทศไทย.แหล่งที่มา https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642. สืบค้น 3 มีนาคม 2564.

Techera, J. E. & Klein, N. (2013). The Role of Law in Shark Based Eco Tourism: Lessons from Australia. Marine Policy. 39. 21–28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-24