ความสัมพันธ์ของส่วนประสมการตลาดกับกลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่ ช่วงโควิด-19 จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ศุภสิริ สร้อยทองพงศ์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, แอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่, กลยุทธ์ทางการตลาดบริการ, ผู้บริโภค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหาร 2) ระดับของกลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหาร 3) ความสัมพันธ์ของส่วนประสมการตลาดกับกลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหาร และ 4) เปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดกับกลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่ช่วงโควิด-19 ในจังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามเพศ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15-69 ปี ซึ่งเป็นผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่ช่วงโควิด-19 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product moment correlation coefficient) (r) ผลการวิจัยพบว่า

ระดับของส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.68,SD.=.26) ระดับของกลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.64,SD.=.43) ความสัมพันธ์ของส่วนประสมการตลาดกับกลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารภาพรวมมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน โดยมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.34, p-value=.00) ส่วนการเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดกับกลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภค ในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่ช่วงโควิด-19 ในจังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามเพศในภาพรวมพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). ปัจจัยด้านคุณกาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์อาหารผ่านผู้ให้บริการ “Food Panda Application. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 16 (1), เดือนมกราคม-มิถุนายน 2561: 153-162.
ชนิภา ช่วยระดม. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งซื้ออาหารผ่าน Food Panda Applications ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2561: 43-55.
ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตาม สั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11 (1), 53-66.
ธณัฐพล เวียงสิมมา และอมขวัญ สุวรรณรักษ์. (2563). องค์ประกอบของกลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในกลุ่มมิลเลนเนียลในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่. คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (26 มิ.ย. 2564). ส่องเทรนด์การค้าออนไลน์ไทยจากวิกฤตโควิด 19. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256401TheKnow ledge_CommerceTrend.aspx. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาน.
พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วริษฐา เขียนเอี่ยม, สุรัสวดี ราชกุลชัย. (2562). บทบาทของเทคโนโลยีและกระบวนการต่อพฤติกรรมการสั่งอาหารทางออนไลน์. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยสยาม ประจำปี 2562.
วิริยา บุญมาเลิศ และ บุญยาพร ภู่ทอง. (2557). กลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีกธุรกิจอาหารฮาลาล ตามยุทธศาสตร์การค้าการลงทุน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (26 มิ.ย. 2563). ธุรกิจออนไลด์ 2564. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น https://kasikornresearch.com/th. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564.
สสินาท แสงทองฉาย. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทยในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (26 มิ.ย 2564). สถิติประชากรศาสตร์. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2564). ศูนย์ข้อมูลโควิด 19. ฝ่ายควบคุมโรคติดต่อ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31