แนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุ-สามเณรในจังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
เครือข่ายสังคมออนไลน์, เผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระภิกษุ-สามเณรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ และหาแนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุ-สามเณรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ พระภิกษุ-สามเณรในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 357 รูป ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระภิกษุ และนักวิชาการศาสนา จำนวน 7 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า
- พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภิกษุ-สามเณรในจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตลอดทั้งวัน ระยะเวลาที่ใช้งานประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์บ่อยที่สุด คือ 16.01 - 24.00 น. Account ที่ใช้งานบ่อยที่สุด คือ Facebook, Line, YouTube และ Google จุดประสงค์หลักเพื่อการสื่อสาร และเพื่อการศึกษา/วิชาการเป็นหลัก เหตุผลที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อแสดงออกร่วมกับผู้อื่น แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- ความคิดเห็นต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุ-สามเณรในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสาร ด้านการศึกษา/วิชาการ และด้านการเผยแผ่ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านนันทนาการ อยู่ในระดับปานกลาง
- การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น พระภิกษุ-สามเณรควรมีองค์ความรู้ในทางพระพุทธศาสนา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการใช้ภาษาที่สละสลวยผ่านการพิจารณา และกลั่นกรองมาดีแล้ว มีวัตถุประสงค์ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะสื่อสารให้ชัดเจน ซึ่งจะสามารถทำให้การสื่อสารและเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ดียิ่งขึ้น
References
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541) เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิต.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548) การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วย spss. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บ.วี.อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.
พระมหาธนิต สิริวฑฺฒฺโน. (2558). รูปแบบและกระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ RAJABHAT CHIANG MAI RESEARCH JOURNAL. 16 (2) เมษายน - ธันวาคม.
พินิจ ลาภธนานนท์, แทนพันธุ์ เสนะพันธ์ บัวใหม่. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมของพระสงฆ์.กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสภา. (30 เม.ย. 62) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.royin.go.th. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2562.
สินี กิตติชนม์วรกุล. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนในจังหวัดสงขลา. (2558). การประชุมวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 2. 16 กรกฎาคม 2558. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เอกนรินทร์ นิยมทรัพย์. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อทัศนคติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของพระภิกยุสงฆ์ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Buaclee, C. (2014). Digital Printing Design of Post Modern Culture. Veridian E-Journal, Silpakorn University Humanities, Social Sciences and Arts, 7(3),