การพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนบนฐานความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนา,, องค์กรกรการเงินชุมชน,, ความเข้มแข็ง,, กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพองค์กรการเงินชุมชนบนฐานความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๒) ศึกษากระบวนการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนบนฐานความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และ ๓) เสนอแนวทางในการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนบนฐานความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน ๒๑ รูป/คน ประกอบด้วย ผู้บริหารกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ตัวแทนคณะกรรมการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ผู้ที่มีบทบาทในการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินระดับฐานราก นักวิชาการการเงินชุมชนระดับฐานราก และการสนทนากลุ่มเฉพาะที่เกี่ยวกับองค์กรการเงินชุมชน จำนวน ๑๒ รูป/คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินชุมชนระดับฐานราก ตัวแทนคณะกรรมการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ตัวแทนสมาชิกกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ และผู้นำท้องถิ่น หลังจากนั้น นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอเขียนเป็นความเรียง
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ๑. สภาพองค์กรการเงินชุมชนบนฐานความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีการพัฒนาและเจริญเติบโตค่อนข้างเร็ว จากที่เริ่มก่อตั้งกลุ่มครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๙ ซึ่งมีสมาชิกเพียง ๑๐๘ คน มีเงินออม ๖,๘๑๐ บาท ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ ๑๐๖,๐๒๑ คน มีเงินหมุนเวียน ๒,๔๑๙,๘๗๓,๐๐๐ บาท โดยการบริหารเงินทุนที่สมาชิกนำมาฝากให้เกิดเป็นรายได้ และพัฒนาสวัสดิการแก่สมาชิก ๒. กระบวนการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนบนฐานความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย ๑) ด้านความรู้ ๒) ด้านการเงิน ๓) ด้านบุคลากร ๔) ด้านสวัสดิการ ๕) ด้านเครือข่าย และทั้ง ๕ กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์มีการพัฒนาเครือข่ายที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ มีการช่วยเหลือแบ่งปันองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงพันธมิตร ๓. แนวทางในการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนบนฐานความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ควรดำเนินการ ดังนี้ ๑) พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวคิด หลักการของกลุ่ม และการพัฒนาคนในชุมชน ๒) พัฒนาระบบการเงิน การบัญชี การบริหารความเสี่ยง และการสร้างทะเบียนคุม ๓) พัฒนาระบบการทำงานร่วมกับเครือข่ายครอบคลุมทั้งระดับกลุ่ม ระดับเขต และระดับจังหวัด
References
กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์จันทบุรี. (2558). ที่ระลึกในพิธีถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชาญวิทย์ ทองโชติ. (2557). “ความเข้มแข็งองค์กรการเงินชุมชน ในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี”. รายงานวิจัย. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ธนาชัย สุขวณิช.“ (2555). การบริหารการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย”. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
ธันวา แสวงการ. (2564). กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์จันทบุรี ร่วมประชุมใหญ่ประจำปี 2562 และร่วมฉลองในโอกาสครบ ๒๔ ปี, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://thainews.prd.go.th news, [2 เมษายน].
พระครูสุวรรณโพธิวรธรรม (มนัส ขนฺติธมฺโม). องค์กรการเงินชุมชน ปลดแอกหนี้ให้ชาวบ้าน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:www.thaihealth.or.th/content/27662, [20 เมษายน 2560].
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2559). ข่าวกระทรวงการคลัง : แผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ.2560-2564. ฉบับที่ 149/2559 (16 พฤศจิกายน 2559), หน้า 1.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, พ.ศ.2560-2564).
สุรชัย กังวล. (2552). “การบริหารจัดการที่เหมาะสมของสถาบันการเงินชุมชน”. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารศาสตร์. สำนักงานบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Denzin, N.K. (1978). The Research Act. 2nd ed.. New York: McGraw-Hill.
Dukes, S., (1984). Phenomenology Methodology in the Human Sciences, Journal of Religion and Health, 23(3): 197-203.
Shigeo Takenaka. (2006). Regulatory Architecture for Microfinance in Asia. Tokyo: Asian Productivity Organization.