การพัฒนาคุณภาพชีวิตยุคนิวนอร์มอล

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพงศ์ แก้วกัณหา

คำสำคัญ:

การพัฒนา,, คุณภาพชีวิต,, ยุคนิวนอร์มอล

บทคัดย่อ

การศึกษาข้อมูล เรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตยุคนิวนอร์มอล นั้น มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐานสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนี้ คือ (1) อาหารต้องดี มีคุณภาพถูกหลักโภชนาการ     (2) มีบ้านที่อยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการอำนวยความสะดวกแก่ชีวิต ปลอดภัย ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก มีสุขอนามัย (3) มีครอบครัวที่อบอุ่น อยู่เย็นเป็นสุข (4) มีสังคมรอบข้างเหมาะสม เพื่อนและเพื่อนบ้าน ไม่เสียงดัง วุ่นวาย สงบ ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน การใช้ชีวิตให้มีคุณภาพในยุคนิวนอร์มอล มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ คือ (1) มีการเว้นระยะห่างทางสังคม (2) มีการใส่ใจสุขภาพมากขึ้น         (3) การจับจ่ายใช้สอยอย่างประหยัด และ (4) การใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารมาขึ้น ทั้งนี้ที่กล่าวมาก็เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตและมีความสะดวก และปลอดภัยในยุคโควิด – 19 การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในของคนสมัยใหม่ คือการใช้ชีวิตอยู่บนการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จนทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น จนไม่สามารถจะเรียนรู้ให้ทันต่อเหตุการณ์ได้ แต่สิ่งเป็นพฤติกรรมความต้องการที่เกิดขึ้นของของสังคมสมัยนั้น คือ (1) ความสะดวก (2) ความปลอดภัย และ (3) เทคโนโลยี

References

ชุมพร ฉ่ำแสง และคณะ. “ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การ แพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก”. รายงานการวิจัย, คณะแพทยศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2555.
ทิพย์วัลย์ เรืองขจร. วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, 2554.
ธนิดา ชี้รัตน์. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์”, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี, 2554.
นางสาวนราทิพย์ ผินประดับ. โมเดลเชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตข้าราชการกรุงเทพมหานครในบริบทพุทธจิตวิทยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา, 2562.
พัชรี หล้าแหล่ง. “การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2556.
เสาวลักษณ์ พันธบุตร. อยู่อย่างคนร่วมสมัยในยุคดิจิทัล. ว า ร ส า ร วิ ช าการนวัตกรรม สื่อสารสังคม, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 10 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2560.

เว็ปไซต์
บทความ. พฤติกรรม กับ ชีวิตวิถีใหม่ : New Normal, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=258, [ 3 ตุลาคม 2563].
บทความกรมสุขภาพจิต. COVID-19 : คำแนะนำเรื่องสุขภาพจิตโดยองค์การอนามัยโลก (WHO). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : COVID-19 : คำแนะนำเรื่องสุขภาพจิตโดยองค์การอนามัยโลก (WHO), [ 3 ตุลาคม 2563].
บทที่3 PDF. ภัยคุกคามที่มาพร้อมกับเทคโนโลย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.dsdw2016. dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-203.pdf, [ 3 ตุลาคม 2563].
by ThaiQuote. ราชบัณฑิตให้ความหมาย New normal คือ “ความปกติใหม่-ฐานวิถีชีวิตใหม่”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.thaiquote.org/content/237003, [ 3 ตุลาคม 2563].
Healthy Living. New Normal: เมื่อระยะห่างเปลี่ยนรูปแบบใหม่ของการใช้ชีวิต. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https://www.azay.co.th/th/healthy-living/allianz-for-life/article/PhysicalDistancing, [ 3 ตุลาคม 2563].
STEPS Academy. 8 ทักษะในยุคดิจิทัลที่คุณต้องปรับตัว หากอยากประสบความสำเร็จในปี 2020. [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://stepstraining.co/trendy/8-success-skills-for-2020, [ 3 ตุลาคม 2563].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-04