คติธรรมการออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • จำรัส พรหมบุตร

คำสำคัญ:

คติธรรม, การออกแบบ, สถาปัตยกรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาข้อมูล เรื่อง คติธรรมการออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงพุทธจิตวิทยา คือ คติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมที่เป็นเจดีย์และวิหาร ได้แก่ บูชา 2 การบูชา ได้แก่ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา ภูมิ 31 หรือไตรภูมิ เป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงดินแดน  3 คือ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4 ในส่วนของวิหารมีคติธรรม คือ อริยสัจ 4 วิหาร เป็นอนุปาทินกสังขาร สังขารที่ไม่มีใจครอง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกาลเวลา บารมี 10 หรือทศบารมี คติธรรมในการออกแบบวัด มีจุดเน้นเรื่องอาวาสสัปปายะ มีอุดมคติเรื่องที่ ชาติ ศีลธรรม สติปัญญา สถาบันพระมหากษัตริย์ ประชาชน และเปรียบรูปแทนพระพุทธเจ้า เป็นงานศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อสนองตอบและรับใช้งานทางด้านพระพุทธศาสนาที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเป็นความงาม เพื่อความพอใจที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาธรรมทางวัตถุถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา เนื่องในพระพุทธศาสนาเป็นการส่งเสริมเผยแพร่ เป็นสิ่งช่วยโน้มน้าวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ให้เกิดความศรัทธา ประพฤติปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีงามตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมวัดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นิยมสร้างพระปรางค์กับพระเจดีย์ไม้สิบสอง นิยมสร้างพระสถูปกลมทรงลังกา และมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างมากมายมีทั้งที่เลียนแบบบ้านไม้เรียนไทย แบบจีน และเรียนแบบ และคติความเชื่อพื้นฐานของชุมชน ตลอดจนคติของศาสนา และวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นที่ชุมชนนั้น ๆ มีความพึงพอใจ ทั้งยังขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอยหลักของชุมชน สื่อถึงความรักความสามัคคีในชุมชนใสยุคที่ผ่านมาอีกด้วย

References

ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ. พุทธศิลป์: ถิ่นไทย ศิลปกรรมเพื่อพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 [กรกฎาคม – ธันวาคม 2559].

พระครูสิริรัตนานุวัตร. การพัฒนาภูมิสถาปัตยกรรมของวัดตามหลักจักรวาลวิทยา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, ปีที่ 19 ฉบับที่ 4 [ตุลาคม – ธันวาคม 2562].

พระไพยนต์ รกฺขิตธมฺโม (ชะเอ). ศึกษาวิเคราะห์คติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมของวัดในล้านนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 [กันยายน 2562].

ภคชาติเตชะอำ นวยวิทย. การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เอื้อให้เกิดความสัปปายะเพื่อนำไปออกแบบวัดป่าวิมุตตยาลัย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตตยากรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 12 ฉบับที่ 7 [เมษายน 2556].

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. ศิลปะรัตนโกสินทร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :http://www.elfar.ssru.ac.th/ jirawat_ka/pluginfile. php/15/block_html/content.pdf, [ 4 ตุลาคม 2563].

สถาบันพระปกเกล้า. สัปปายะสภาสถาน. [ออนไลน์], แหล่งที่มา http://wiki.kpi.ac.th/ index.php?title99, [4 ตุลาคม 2563].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-21