กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งของการปลูกพืชต้นอ่อนอายุสั้น : กรณีศึกษาแบม แบมฟาร์ม บ้านทุ่งสาริกา ตำบลกุดนกเปล้า อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • นงณภัส ตาตะเกษม
  • วงศ์สถิตย์ วิสุภี

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้, การปลูกพืชต้นอ่อนอายุสั้น, ผลสำเร็จของกระบวนการเรียนรู้

บทคัดย่อ

บทความวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการเรียนรู้การปลูกพืชต้นอ่อนอายุสั้นของ
แบมแบมฟาร์ม บ้านทุ่งสาริกา 2) ผลสำเร็จกระบวนการเรียนรู้การปลูกพืชต้นอ่อนอายุสั้นของแบม แบม ฟาร์ม บ้านทุ่งสาริกา ตำบลกุดนกเปล้า อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ทำการวิจัยระหว่างเดือนพฤษภาคม 2561- มิถุนายน  2563 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 15 ราย โดยมุ่งเน้นการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า

  1. กระบวนการเรียนรู้การปลูกพืชต้นอ่อนอายุสั้นแบม แบมฟาร์ม บ้านทุ่งสาริกา ตามหลักการ
    5 ร. ดังนี้ 1) รวมคน พบว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมพลังใจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีจิตสำนึกในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน และชุมชน ผ่านกระบวนการจัดเวทีประชาคม 2) ร่วมคิด มีวัตถุประสงค์รวมพลังความคิดในการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและชุมชน เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน วิเคราะห์ปัญหา พร้อมกำหนดแนวทาง และวิธีการแก้ไขปัญหา 3) ร่วมทำมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมพลังการจัดการ ด้านทุน ความรู้ และตลาด 4) ร่วมสรุปบทเรียน มีการสรุปบทเรียนด้วยตนเอง และจากเครือข่าย 5) ร่วมรับประโยชน์จากการกระทำ คือ ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว กลุ่มและประโยชน์ต่อหมู่บ้าน/ชุมชน
  2. ผลสำเร็จของกระบวนการเรียนรู้การปลูกพืชต้นอ่อนอายุสั้น แบม แบมฟาร์ม บ้านทุ่งสาริกา ดังนี้ 1) ลดรายจ่าย พบว่า มีการดำเนินการเพื่อบริโภคในครัวเรือนด้านอาหาร การทำบัญชีครัวเรือน และการลดต้นทุนในการผลิต 2) เพิ่มรายได้ มีการออมเงิน การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การจำหน่ายชุดเพาะต้นอ่อน การออกบูธ การเป็นวิทยากร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์  3) ขยายโอกาสเพื่อเพิ่มรายได้และผลผลิต มีการส่งเสริมให้กลุ่มมีการเจริญเติบโตและยั่งยืน การเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ

References

ครรชิต พุทธโกษา. คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: (ม.ป.พ.), 2554.
ทองแดง ข้อนอก. กระบวนการเรียนรู้การจัดการดินที่เหมาะสมกับวิถีการเกษตรของชุมชน ตำบลพญาเย็น
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ บัณฑิตศึกษา สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน, 2561.
เทอดชาย มุ่งคีมกลาง. กระบวนการเรียนรู้การทำวนเกษตร สู่การพึ่งตนเอง: กรณีศึกษา นายบุญช่วย
วงษ์ษา สวนกลางนา ตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ บัณฑิตศึกษา สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน, 2561.
ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. บ้านไร่นาเรา การจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน. (ออนไลน์).http://www.banrainarao.com/column/learn_commu/ สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2560.
วรัทยา ธรรมกิตติภพ, พีรพงศ์ ทิพยนาศ และวิทยา เบญจาธิกุล. กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการจัดการธุรกิจชุมชนเพื่อการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของชุมชน, บทความวิจัย วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม-มิถุนายน 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-10