การสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อแก้วิกฤตขาดแคลนน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านหนองกองเหนือ ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐศักดิ์ มั่งอะนะ
  • สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์

คำสำคัญ:

ฝายชะลอน้ำ, แห้งแล้ง, การมีส่วนร่วม, เกษตรกรผู้ใช้น้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของชุมชน วิถีชีวิต วัฒนธรรมของคนในชุมชน และสภาพปัญหา ความแห้งแล้งของป่าต้นน้ำคลองคะยาง 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องวิกฤติการขาดแคลนน้ำ ของชุมชน 3) เพื่อศึกษาผลการสร้างฝายชะลอน้ำ ของการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ประชากรและ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัย คือประชากร ผู้ใช้น้ำสำหรับทำการเกษตรของหมู่ที่ 10 บ้านหนองกองเหนือ จำนวน 1,933 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยผู้บริหาร สมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุดรักษาความสงบเรียบร้อยหมู่บ้าน (ชรบ.)
ผู้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อของชุมชน และเกษตรกรบ้านหนองกองเหนือจำนวน 39 คน ซึ่งเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ ความจริงโดยนำกระบวนการปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม บ้านหนองกองเหนือจำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า

1) ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองกองเหนือมีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติแบบพึ่งพาอาศัยกันทั้งด้านการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ โดยชาวบ้านในชุมชนมีความเข้าใจในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองคะยาง ประชาชนให้ความสนใจและตระหนักเห็นถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำเป็นอย่างยิ่ง

2) การสร้างฝายชะลอน้ำที่มีความจำเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านในชุมชน มีการทำประชาพิจัย ได้ประชามติ จากการเห็นความสำคัญ มีงบประมาณที่เพียงพอที่เกิดขึ้นได้จากการบริจาค และมีความพร้อมในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน

3) ชาวบ้านตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ จนเกิดจิตสำนึกในการหวงแหนรักษาทรัพยากรในชุมชน มีความรู้สึกภาคภูมิใจเกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งและเป็นเจ้าของร่วมกัน           

References

ปราโมทย์ ไม้กลัด. (2557). ทางออกการบริหารจัดการน้ำของไทย. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2561,
จาก http://thaipublica.org/2014/03/water-managementsolutions
ศักดิ์พงษ์ นิลไพรัช. (2559). ฝายมีชีวิตเมื่อชุมชนลุกขึ้นจัดการเองแก้น้ำท่วม ซับน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง. ค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561. จาก http// www.isra new.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-11