การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านทาดง หมู่ที่ 13 ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ยศศักดิ์ บรรเทา
  • เสนอชัย เถาว์ชาลี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการน้ำ, การมีส่วนร่วม, ฝายชะลอน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเป็นอยู่และปัญหาของน้ำใช้ในชีวิตของชุมชนบ้านทาดง หมู่ที่ 13 ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในการดำรงชีวิตของชุมชนบ้านทาดง หมู่ที่ 13 ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน การวิจัยในครั้งนี้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐที่รับผิด ชอบงานในพื้นที่ กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ และกลุ่มผู้นำในชุมชนบ้านทาดง จำนวน 26 คน เก็บรวบ รวมข้อมูลโดยการทบทวนวรรณกรรมและใช้แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการวิจัยผลการวิจัยพบว่า

1) สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของชุมชนบ้านทาดงเป็นภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ราบลุ่มน้ำแม่ทามีความลาดชันมาก ลำน้ำแม่ทาเป็นแม่น้ำสายหลักเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงชีพราษฎรซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร การขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรจึงเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

2) แนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนเกิดจากการนำศาสตร์ของพระราชาด้านการบริหารจัดการน้ำมาแก้ปัญหาน้ำใช้ในชีวิตโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นกลไกสำคัญ มีการร่วมกันทำฝายชะลอน้ำแบบชั่วคราวในลำน้ำแม่ทา 6 ฝาย ผลงานเชิงประจักษ์จากการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทาดง คือ การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ “หมู่บ้านตัวอย่างตามรอยเท้าพ่อ”  

References

ปราโมทย์ ไม้กลัด. (2557). ทางออกของการบริหารจัดการน้ำของไทย. ค้นเมื่อ 29 กรกฏาคม 2561, จาก https://thaipublica.org/2014/03/water-management-solutions/.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรแห่งชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์แอนด์ เจอร์นัส พับลิเคชั่น.
จริย์ ตุลยานนท์. (2552). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติจริง. วารสารอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ-c117. วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: แก้วิกฤตด้วยพระบารมี, ปีที่ 7 (ฉบับที่ 3/2552), 22-29.
สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทา. (2561). รายงานสถิติการลงทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. เอกสารอัดสำเนา.
สุกิตติยา บุญหลาย และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรยั่งยืนกรณีศึกษา: ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. Veriden E-Jounal, Silapakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม 2560.
บัลลพ ดิษฐแย้ม. (2554). การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร แบบมีส่วนร่วมบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ศิริพิชญา พินิจบุญญาวงค์. (2558). ตอบโจทย์ผลสำเร็จการบริหารจัดการน้ำต้นแบบบางระกำโมเดล อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และแนวทางแก้ไขให้ได้รับผลกระทบเสียหายน้อยที่สุด (พื้นที่อำเภอบางระกำ ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง และตำบลวังวน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก). รายงานการวิจัยของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 9 กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ชลธร ทิพย์สุวรรณ. (2557). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการลุ่มน้ำสาขาแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและสาละวินศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุปราณี โล่ภักดีสวัสดิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-11