การสืบสานวัฒนธรรมการเล่นพื้นบ้านเด็กไทยบ้านบางตาหงายใต้ ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วันชัย สีชมภู
  • ผกาพรรณ ฮั่นตระกูล

คำสำคัญ:

การเล่นพื้นบ้าน, การละเล่นเด็กไทย, การถ่ายทอดวัฒนธรรม, การสืบสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมการเล่นพื้นบ้านเด็กไทย บ้านบางตาหงายใต้ ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อสืบสานวัฒนธรรมการเล่นพื้นบ้านเด็กไทยจากการทดลองปฏิบัติกิจกรรมการเล่นของเด็กในหมู่บ้านบางตาหงายใต้ และ 3) เพื่อศึกษาผลปฏิบัติการสืบสานวัฒนธรรมการเล่นพื้นบ้านเด็กไทย โดยใช้กระบวนการการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ในการดำเนินงานวิจัย มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสังเกต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านบางตาหงายใต้ จำนวน 10 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนวัดวิวิตตาราม จำนวน 50 คน

              ผลการวิจัยพบว่าหมู่บ้านบางตาหงายใต้มีการเล่นพื้นบ้านที่นิยมเล่นในสมัยก่อนหลายชนิดด้วยกัน โดยการเล่นพื้นบ้านที่ได้รับการนิยมและผู้ให้ข้อมูลสามารถให้ข้อมูลถึงวิธีการเล่นได้อย่างครบถ้วนมีทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่ อีตัก, ตีขอบกระด้ง, โพงพาง, มอญซ่อนผ้า, หมาบ้า, ลิงชิงหลัก, ตีไก่คน, ตาล็อกต๊อกแต๊ก, ตี่จับ, แย้ลงรู, ยิงกาบบ๊ง, ทอยจ็อก, เตย, กระทะหมุน และหึ่มกาบมะพร้าว ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการเล่นพื้นบ้านที่น่าสืบสานเป็นอย่างยิ่ง

References

พรวิไล ประเสริฐสุข และสุวรี ศิวะแพทย์, (2557). วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา
ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กรกฎาคม- กันยายน 2557, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฐาปนี. (2549). การละเล่นพื้นบ้านไทย 4 ภาค. กรุงเพทมหานคร: สำนักพิมพ์แสงดาว.
ผอบ โปษะกฤษณะ. (2552). การละเล่นของไทย. กรุงเพทมหานคร: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.
แม่พลอยจันทร์. (2550). การละเล่นของเด็กไทย. กรุงเพทมหานคร: บริษัท แซมโฟร์ พริ้นติ้งจำกัด.
รุ่งนภา สุขมล. (2548). ของเล่น ความหมายที่มากกว่า: กระบวนการและเทคนิคการพลิกฟื้นศิลปะชุมชน. กรุงเพทมหานคร: พิสิษฐ์ ไทยออฟเซต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-12