การสร้างป่าครอบครัว : กรณีศึกษานายศิริพงษ์ โทหนองตอ บ้านห้วยหนามตะเข้ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • ศุภกฤต ภัทธรคุณานนท์
  • วงศ์สถิตย์ วิสุภี

คำสำคัญ:

ป่าชุมชน, ป่าครอบครัว, การสร้างป่าครอบครัว, การพึ่งตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิธีการสร้างป่าครอบครัวของนายศิริพงษ์ โทหนองตอ
2) ผลสำเร็จการสร้างป่าครอบครัวของนายศิริพงษ์ โทหนองตอ บ้านห้วยหนามตะเข้ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง 22 ราย ศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2560 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2563 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. วิธีการสร้างป่าครอบครัวของนายศิริพงษ์ โทหนองตอ ได้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิธีการเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างป่าครอบครัว (0-1 ปี) ขั้นตอนที่ 2 วิธีการวางโครงสร้างป่าครอบครัว (1-4 ปี) ขั้นตอนที่ 3 การเสริมโครงสร้างป่าเพื่อป่าครอบครัวที่สมบูรณ์ (5-9 ปี) ขั้นตอนที่ 4 การใช้ประโยชน์จากป่าครอบครัวอย่างยั่งยืน
  2. ผลสำเร็จของการสร้างป่าครอบครัวของนายศิริพงษ์ โทหนองตอ พบว่ามี 4 ประการ คือ                   2.1 การพึ่งตนเอง หมายถึง ความสามารถดำรงตนให้อยู่ได้อย่างอิสระ มั่นคง สมบูรณ์ 

     2.2 การพึ่งพากันเอง การเกิดวงจรชีวิตของพืชถือเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญของการพึ่งพากันเองในระบบนิเวศ                                                                                                                   2.3 เกิดเครือข่ายป่าครอบครัว เกิดขึ้นจากการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลสำเร็จจากการสร้างป่าครอบครัว มีกระบวนการเสริมสร้างความเข้าใจในการสร้างเครือข่ายป่าครอบครัวอย่างยั่งยืน

     2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย สะท้อนให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับ

References

นรชาติ วงศ์วันดี. (2554). ความสำเร็จของการจัดการป่าชุมชน บ้านดงผาปูน ตำบลบ่อเกลือใต้ จัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรพิมล ชำรัมย์. (2556). การจัดการป่าชุมชนในฐานะที่เป็นทรัพยากรวัฒนธรรม กรณีศึกษา : บ้านสามขา หมู่ที่ 6 ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มีชัย วงษ์อูบ และธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์. (2558). แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประชาชน ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วณิชชาอร ท่าพระเจริญ. (2558). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการป่าชุมชนบ้านช่องแคบ ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริพงษ์ โทหนองตอ. (8 พฤษภาคม 2560). สัมภาษณ์. ราษฎร. บ้านห้วยหนามตะเข้ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี.
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).(2559). แนวทางการสร้างป่าครอบครัว. กรุงเทพฯ: Protexts.com.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). อินแปง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-12